การใช้สมุนไพรในการรักษาโรค


พืชสมุนไพร เป็นสิ่งที่อยู่คู่คนไทยมานับพันปี แต่เมื่อการแพทย์แผนปัจจุบันเริ่มเข้ามามีบทบาทในบ้านเรา สรรพคุณและคุณค่าของสมุนไพรอันเป็นสิ่งที่เรียกได้ว่าภูมิปัญญาโบราณก็เริ่มถูกบดบังไปเรื่อยๆ และถูกทอดทิ้งไปในที่สุด ความจริงคนส่วนใหญ่ก็พอรู้ๆ กันว่า สมุนไพรไทยเป็นสิ่งที่มีคุณค่าใช้ประโยชน์ได้จริง และใช้ได้อย่างกว้างขวาง แต่เป็นเพราะว่าเราใช้วิธีรักษาโรคแผนใหม่มานานมากจนวิชาแพทย์แผนโบราณที่มีสมุนไพรเป็นยาหลักถูกลืมจนต่อไม่ติด
ภาครัฐเริ่มกลับมาเห็นคุณค่าของสมุนไพรไทยอีกครั้งด้วยการแถลงนโยบายต่อรัฐสภาไว้เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2535 ว่า " ให้มีการผสมผสานการแพทย์แผนไทยและสมุนไพรเข้ากับระบบบริการสาธารณสุขของชุมชนอย่างเหมาะสม"

วันเสาร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2552

ฝ้ายแดง



ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gossypium arboreum L.
ชื่อสามัญ :
Ceylon Cotton , Chinese Cotton , Tree Cotton
วงศ์ : Malvaceae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ไม้พุ่ม สูง 2.5-3.5 เมตร ลำต้นสีน้ำตาลแดง ใบ ใบเดี่ยวออกเวียนสลับ รูปไข่หรือค่อนข้างกลม กว้าง 4-5 เซนติเมตร ยาว 5-7 เซนติเมตร ขอบหยักลึก 3-7 แฉก ปลายแหลมหรือมน โคนเว้า ก้านใบและเส้นใบสีแดงคล้ำ ดอก สีแดงเข้ม หรือ สีเหลืองอ่อน กลางดอกสีม่วงแดง ออกเดี่ยวตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ใบประดับ 3 ใบ รูปสามเหลี่ยมซ้อนกัน กลีบเลี้ยง 5 กลีบ เชื่อมกันเป็นรูปถ้วย กลีบดอก ๕ กลีบ เกสรตัวผู้จำนวนมาก ก้านเกสรเชื่อมกันเป็นหลอดล้อมรอบเกสรตัวเมีย ปลายเกสรตัวเมียแยกเป็น 5 แฉก ผล กลม หัวท้ายแหลม เมื่อแก่แตกได้ เมล็ดค่อนข้าง กลมสีเขียว จำนวนมากคลุมด้วยขนยาวสีขาวส่วนที่ใช้ : เปลือกราก ใบ
สรรพคุณ :
เปลือกราก -
บดเป็นผง ชงน้ำเดือดดื่มช่วยขับปัสสาวะ บีบมดลูก ช่วยขับน้ำคาวปลา
ใบ - ปรุงเป็นยารับประทานแก้ไข้ ขับเหงื่อ จำพวกยาเขียว และเป็นยาเด็ก แก้พิษตานทรางของเด็กได้ดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น