การใช้สมุนไพรในการรักษาโรค


พืชสมุนไพร เป็นสิ่งที่อยู่คู่คนไทยมานับพันปี แต่เมื่อการแพทย์แผนปัจจุบันเริ่มเข้ามามีบทบาทในบ้านเรา สรรพคุณและคุณค่าของสมุนไพรอันเป็นสิ่งที่เรียกได้ว่าภูมิปัญญาโบราณก็เริ่มถูกบดบังไปเรื่อยๆ และถูกทอดทิ้งไปในที่สุด ความจริงคนส่วนใหญ่ก็พอรู้ๆ กันว่า สมุนไพรไทยเป็นสิ่งที่มีคุณค่าใช้ประโยชน์ได้จริง และใช้ได้อย่างกว้างขวาง แต่เป็นเพราะว่าเราใช้วิธีรักษาโรคแผนใหม่มานานมากจนวิชาแพทย์แผนโบราณที่มีสมุนไพรเป็นยาหลักถูกลืมจนต่อไม่ติด
ภาครัฐเริ่มกลับมาเห็นคุณค่าของสมุนไพรไทยอีกครั้งด้วยการแถลงนโยบายต่อรัฐสภาไว้เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2535 ว่า " ให้มีการผสมผสานการแพทย์แผนไทยและสมุนไพรเข้ากับระบบบริการสาธารณสุขของชุมชนอย่างเหมาะสม"

วันศุกร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2552

มะดัน



ชื่อวิทยาศาสตร์ : Garcinia schomburgkiana Pierre.
วงศ์ :
Clusiaceae (Guttiferae)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ไม้ต้น สูง 7-10 เมตร แตกกิ่งก้านเป็นพุ่ม เปลือกต้นเรียบ สีน้ำตาลอมดำ ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปขอบขนาน กว้าง 2.5 ซม. ยาว 9 ซม. ปลายใบและโคนใบแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบลื่น สีเขียวเข้ม ก้านใบยาว 0.5-1 ศทซ ดอก ออกดอกเดี่ยวหรือเป็นกระจุก 3-6 ดอก ตามซอกใบ มีทั้งดอกสมบูรณ์เพศและดอกเพศผู้ ดอกสีเหลืองอมส้ม กลีบเลี้ยงมี 4 กลีบ ค่อนข้างกลม กลีบดอกมี 4 กลีบ รูปรีแกมรูปไข่ ปลายกลีบดอกมน ดอกเพศผู้มีเกสรเพศผู้ 10-12 อัน ผล รูปรีปลายแหลม ผิวเรียบสีเขียว เป็นมันลื่น มีรสเปรี้ยว เมล็ดมี 3-4 เมล็ด ติดกันส่วนที่ใช้ : ใบ ราก ผล
สรรพคุณ :
ใบและราก-
เป็นยาดอกเปรี้ยวเค็ม และปรุงเป็นยาต้ม รับประทานแก้กระษัย แก้ระดูเสีย ขับฟอกโลหิต- เป็นยาระบายอ่อนๆ- เป็นยาสกัดเสมหะในลำคอดี
ผล - เป็นยาสกัดเสมหะในลำคอดี- เป็นอาหาร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น