การใช้สมุนไพรในการรักษาโรค


พืชสมุนไพร เป็นสิ่งที่อยู่คู่คนไทยมานับพันปี แต่เมื่อการแพทย์แผนปัจจุบันเริ่มเข้ามามีบทบาทในบ้านเรา สรรพคุณและคุณค่าของสมุนไพรอันเป็นสิ่งที่เรียกได้ว่าภูมิปัญญาโบราณก็เริ่มถูกบดบังไปเรื่อยๆ และถูกทอดทิ้งไปในที่สุด ความจริงคนส่วนใหญ่ก็พอรู้ๆ กันว่า สมุนไพรไทยเป็นสิ่งที่มีคุณค่าใช้ประโยชน์ได้จริง และใช้ได้อย่างกว้างขวาง แต่เป็นเพราะว่าเราใช้วิธีรักษาโรคแผนใหม่มานานมากจนวิชาแพทย์แผนโบราณที่มีสมุนไพรเป็นยาหลักถูกลืมจนต่อไม่ติด
ภาครัฐเริ่มกลับมาเห็นคุณค่าของสมุนไพรไทยอีกครั้งด้วยการแถลงนโยบายต่อรัฐสภาไว้เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2535 ว่า " ให้มีการผสมผสานการแพทย์แผนไทยและสมุนไพรเข้ากับระบบบริการสาธารณสุขของชุมชนอย่างเหมาะสม"

วันศุกร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2552

เตยหอม



ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pandanus amaryllifolius Roxb.
ชื่อสามัญ : Pandanus Palm , Fragrant Pandan , Pandom wangi.
วงศ์ :
Pandanaceae
ชื่ออื่น : ปาแนะวองิง (มาเลเซีย-นราธิวาส)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวลักษณะแตกกอเป็นพุ่มขนาดเล็ก ลำต้นเป็นข้อ ใบออกเป็นพุ่มบริเวณปลายยอด เมื่อโตจะมีรากค้ำจุนช่วยพยุงลำต้นไว้ ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับเวียนเป็นเกลียวขึ้นไปจนถึงยอด ลักษณะใบยาวเรียวคล้ายใบหอก ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ผิวใบเป็นมัน เส้นกลางใบเว้าลึกเป็นแอ่ง ถ้าดูด้านท้องใบจะเห็นเป็นรูปคล้ายกระดูกงูเรือ ใบมีกลิ่นหอม ส่วนที่ใช้ : ต้นและราก, ใบสด
สรรพคุณ :
ต้นและราก - ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้กระษัย
ใบสด-
ตำพอกโรคผิวหนัง- รักษาโรคหืด- น้ำใบเตย ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น - ใช้ผสมอาหาร แต่งกลิ่น ให้สีเขียวแต่งสีขนม
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
ใช้เป็นยาขับปัสสาวะใช้ต้น 1 ต้น หรือราก ครึ่งกำมือ ต้มกับน้ำดื่ม
ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจใช้ใบสดไม่จำกัดผสมในอาหาร ทำให้อาหารมีรสเย็นหอม รับประทานแล้วทำให้หัวใจชุ่มชื่น หรือเอาใบสดมาคั้นน้ำรับประทาน ครั้งละ 2-4 ช้อนแกง
ใช้เป็นยาแก้เบาหวาน
ใช้ราก 1 กำมือ ต้มน้ำดื่ม เข้าเย็น
สารเคมี : สารกลุ่ม anthocyanin

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น