การใช้สมุนไพรในการรักษาโรค


พืชสมุนไพร เป็นสิ่งที่อยู่คู่คนไทยมานับพันปี แต่เมื่อการแพทย์แผนปัจจุบันเริ่มเข้ามามีบทบาทในบ้านเรา สรรพคุณและคุณค่าของสมุนไพรอันเป็นสิ่งที่เรียกได้ว่าภูมิปัญญาโบราณก็เริ่มถูกบดบังไปเรื่อยๆ และถูกทอดทิ้งไปในที่สุด ความจริงคนส่วนใหญ่ก็พอรู้ๆ กันว่า สมุนไพรไทยเป็นสิ่งที่มีคุณค่าใช้ประโยชน์ได้จริง และใช้ได้อย่างกว้างขวาง แต่เป็นเพราะว่าเราใช้วิธีรักษาโรคแผนใหม่มานานมากจนวิชาแพทย์แผนโบราณที่มีสมุนไพรเป็นยาหลักถูกลืมจนต่อไม่ติด
ภาครัฐเริ่มกลับมาเห็นคุณค่าของสมุนไพรไทยอีกครั้งด้วยการแถลงนโยบายต่อรัฐสภาไว้เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2535 ว่า " ให้มีการผสมผสานการแพทย์แผนไทยและสมุนไพรเข้ากับระบบบริการสาธารณสุขของชุมชนอย่างเหมาะสม"

วันอังคารที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2552

การสมัครใช้บัญชี Gmail

1. ไปที่ http://www.google.co.th/
จากนั้นให้เข้าไปคลิกที่ มุมบนขวาของหน้าจอคอมพิวเตอร์ของคุณที่ปรากกฏว่าคำว่า "เข้าสู่ระบบ" ดังรูป


หรืออาจจะคลิกเข้าที่ Gmail


2. เมื่อคุณเข้ามาจะปรากฏหน้าต่างของจอคอมพิวเตอร์ดังรูปข้างล่าง แต่เนื่องจากคุณต้องการที่จะสมัครเป็นผู้ใช้รายใหม่จึงยังไม่สามารถเข้าระบบได้ให้ไปคลิกตรงข้างล่างของการเข้าสู่ระบบที่ปรากฏคำว่า"ยังไม่มีบัญชีผู้ใช้ Google หรือ สร้างบัญชีผู้ใช้เดี๋ยวนี้ "หรือถ้าหากคุณคลิกเข้าตรง Gmail แล้วก็ให้ "คลิกที่ สร้างบัญชี"



3. จากนั้นจะปรากฏหน้าจอขึ้นดังรูปข้างล่าง ให้กรอกข้อมูลต่างๆให้ครบถ้วน พร้อมทั้งพิมพ์อักขระที่ปรากฎให้เห็นในขณะนั้น แล้วคลิกยืนยันการสมัคร




4. เมื่อคุณทำถูกต้อง คุณก็จะได้บัญชี ที่เป็น Gmail ค่ะ

วันจันทร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2552

สิ่งที่น่าสนใจ "ทัชมาฮาล อนุสาวรีย์แห่งความรัก"


''ทัชมาฮัล" ถ้าถามว่า “ความรักคืออะไร“…. อย่าคิดหาคำตอบให้เสียเวลา…เพราะว่าเราจะไม่ได้ความหมายที่แท้จริงเลย คำๆ นี่ไม่มีแม้กระทั่งคำจำกัดความของตัวมันเอง เรารู้แต่เพียงว่า “ความรัก” นั้น สามารถบันดาลให้เกิดขึ้นได้ทุกสิ่งทัชมาฮัล คือตัวอย่างของตำนานแห่ง “ ความรัก” ที่ปราศจากนิยามคำนี้ ผู้ที่สร้างตำนานความรักอันยิ่งใหญ่คือ กษัตริย์ชาห์ญะฮาน กษัตริย์องค์ที่ 5 ในราชวงศ์โมเลกุล ที่ทรงโปรดให้สร้าง ตาซมะฮัล หรือ ทัชมาฮัลขึ้นเป็นอนุสรณ์แทนความรักที่พระองค์มีต่อมเหสีคือ พระนางมุมตาซ มะฮัล จนสถานที่แห่งนี้กลายเป็นอนุสรณ์สถานแห่งความรักที่งดงามที่สุดในโลก
ตำแหน่งที่ตั้ง
ฝั่งขวาแม่น้ำยมนา ประเทศอินเดีย

ปัจจุบัน
สามารถเข้าเยี่ยมชมได้
รายละเอียด
เป็นอนุสาวรีย์แห่งความรัก สร้างขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1631 เสร็จ ค.ศ. 1648 รวมเวลาก่อสร้าง 17 ปี ใช้เวลาตกแต่ง 5 ปี รวมเวลาทั้งหมด 22 ปี ใช้งบประมาณก่อสร้าง 30 ล้านรูปี คนงานก่อสร้าง 20,000 คน ทัชมาฮาลสร้างขึ้นโดยกษัตริย์ชาร์เจฮาน แห่งราชวงศ์โมกุล สร้างขึ้นเพื่อบรรจุศพของพระนางมุมทัส มาฮาล ซึ่งเป็นพระมเหสีสุดที่รักของพระองค์ โดยสร้างขึ้นบริเวณฝั่งขวาแม่น้ำยมนา ตอนโค้งที่สวยงามในเนื้อที่ 625 ไร่ ทัชมาฮาลทำด้วยหินอ่อนสีขาว ภายในสุสานใต้โดมใหญ่เป็นที่ประดิษฐานหีบศพของพระนางมุมทัส และกษัตริย์ชาร์เจฮาน


http://th.upload.sanook.com/A0/2948daabfb49b5e79798b2e30e6b1cc5

วันอาทิตย์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2552

ขิง



ชื่อวิทยาศาสตร์ : Zingiber officinale Roscoe
ชื่อสามัญ : Ginger
วงศ์ : Zingiberaceae

ชื่ออื่น : ขิงแกลง ขิงแดง (จันทบุรี) ขิงเผือก (เชียงใหม่) สะเอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ไม้ล้มลุก มีเหง้าใต้ดิน สีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อในสีนวล มีกลิ่นเฉพาะ จะแทงหน่อหรือลำต้นเทียมขึ้นมาเหนือพื้นดิน ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปขอบขนาน แกมรูปใบหอก กว้าง 1.5-2 ซม. ยาว 15-20 ซม. ขอบใบเรียบ แผ่นใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ดอก ออกเป็นช่อ แทงออกจากเหง้าใต้ดิน ใบประดับเรียงเวียนสลับสีเขียวอ่อน ดอกสีเหลืองแกมเขียว ผล เป็นผลแห้ง ทรงกลม ขนาดประมาณ 1 ซม. เป็น 3 พู เมล็ดหลายเมล็ดส่วนที่ใช้ : เหง้าแก่สด ต้น ใบ ดอก ผล

สรรพคุณ :
เหง้าแก่สด - ยาแก้อาเจียน- ยาขมเจริญอาหาร- ยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืดเฟ้อ ขับลม- แก้ไอ ขับเสมหะ บำรุงธาตุ- สามารถต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ลดอาการจุกเสียดได้ดี- มีฤทธิ์ในการขับน้ำดี เพื่อย่อยอาหาร- แก้ปากคอเปื่อย แก้ท้องผูก- ลดความดันโลหิต
ต้น - ขับผายลม แก้จุกเสียดแน่นเฟ้อ แก้นิ่ว บำรุงไฟธาตุ แก้คอเปื่อย ช่วยย่อยอาหาร ฆ่าพยาธิ แก้โรคตา แก้บิด แก้ลมป่วง แก้ท้องร่วงอย่างแรง แก้อาเจียน
ใบ - แก้โรคกำเดา ขับผายลม แก้นิ่วแก้เบาขัด แก้คอเปื่อย บำรุงไฟธาตุ ช่วยย่อยอาหาร ฆ่าพยาธิ แก้โรคตา ขับลมในลำไส้
ดอก - ทำให้ชุ่มชื่น แก้โรคตาแฉะ ฆ่าพยาธิ ช่วยย่อยอาหาร แก้คอเปื่อย บำรุงไฟธาตุ แก้นิ่ว แก้เบาขัด แก้บิด
ผล - แก้ไข้
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
ยาแก้อาเจียนใช้ขิงแก่สด หรือแห้ง ขิงสดขนาดหัวแม่มือ (ประมาณ 5 กรัม) ทุบให้แตก ถ้าแห้ง 5-7 ชิ้น ต้มกับน้ำดื่มนำขิงสด 3 หัว หัวโตยาวประมาณ 5 นิ้ว ใส่น้ำ 1 แก้ว ต้มจนเหลือ 1/2 แก้ว (ประมาณ 15-20 นาที หลังจากเดือดแล้ว) รินเอาน้ำดื่ม
ยาขมเจริญอาหารใช้เหง้าสดประมาณ 1 องคุลี ถ้าผงแห้งใช้ 1/2 ช้อนโต๊ะ หรือประมาณ 0.6 กรัมผงแห้งชงกับน้ำดื่ม เหง้าสดต้มน้ำ หรือปรุงอาหาร เช่น ผัด หรือรับประทานสดๆ เช่น กับลาบ แหนม และอื่นๆ
แก้อาการท้องอืดเฟ้อ จุกเสียดและปวดท้อง- น้ำกระสายขิง น้ำขิง 30 กรัม มาชงด้วยน้ำเดือด 500 ซีซี ชงแช่ไว้นาน 1 ชั่วโมง กรองรับประทานครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ- ใช้ขิงแก่ต้มกับน้ำ รินน้ำดื่มแก้โรคจุกเสียด ทำให้หลับสบาย- ขิงแก่ยาว 2 นิ้ว ทุบพอแหลก เทน้ำเดือดลงไปครึ่งแก้ว ปิดฝา ตั้งทิ้งไว้นาน 5 นาที รินเอาแต่น้ำมาดื่มระหว่างอาหารแต่ละมื้อ- ใช้ผงขิงแห้ง 1 ช้อนโต๊ะปาดๆ หรือ 0.6 กรัม ถ้าขิงแก่สดยาวประมาณ 1 องคุลี หรือประมาณ 5 กรัม ต้มกับน้ำ เติมน้ำตาลดื่มทุกๆ วัน ถ้าเป็นผงขิงแห้งให้ชงน้ำร้อน เติมน้ำตาลดื่ม
แก้ไอและขับเสมหะ ใช้ขิงสดฝนกับน้ำมะนาว แทรกเกลือ ใช้กวาดคอหรือจิบบ่อยๆ
ลดความดันโลหิตใช้ขิงสดเอามาฝานต้มกับน้ำรับประทาน
สารเคมี เหง้า พบ Gingerol Zingiberene, Zingiberone Zingiberonol, Shogoal, Fenchone, Camphene Cineol Citronellol ใน น้ำมันหอมระเหย พบสาร Bisabolene, Zingiberone Zingiberol, Zingiberene, Limonene, Citronellol Gingerol, Camphene, Borneol, Cineol ทั้งต้น พบ 5 - (1) - 6 - Gingerol ใบ พบ Shikimic acid


กะเพรา



ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ocimum sanctum L.
ชื่อพ้อง :
Ocimum tenuiflorum L.
ชื่อสามัญ :
Holy basil, Sacred Basil
วงศ์ :
Lamiaceae (Labiatae)
ชื่ออื่น : กะเพราขน กะเพราขาว กะเพรา (ภาคกลาง) กอมก้อ กอมก้อดง (เชียงใหม่) อีตู่ไทย (ภาคอีสาน)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 30-60 ซม. โคนต้นค่อนข้างแข็ง กะเพราแดงลำต้นสีแดงอมเขียว ส่วนกะเพราขาวลำต้นสีเขียวอมขาว ยอดอ่อนมีขนสีขาว ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน รูปรี กว้าง 1-3 ซม. ยาว 2.5-5 ซม. ปลายใบมนหรือแหลม โคนใบแหลม ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อย แผ่นใบสีเขียว มีขนสีขาว ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด ดอกสีขาวแกมม่วงแดงมีจำนวนมาก กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกัน ปลายเรียวแหลม ด้านนอกมีขน กลีบดอกแบ่งเป็น 2 ปาก ปากบนมี 4 แฉก ปากล่างมี 1 แฉก ปากล่างยาวกว่าปากบน มีขนประปราย เกสรเพศผู้มี 4 อัน ผล เป็นผลแห้ง เมื่อแตกออกจะมีเมล็ด สีดำ รูปไข่ส่วนที่ใช้ : ใบ และยอดกะเพราแดง ทั้งสดและแห้ง ทั้งต้น
สรรพคุณ :
แก้อาการคลื่นไส้ อาเจียน (เกิดจากธาตุไม่ปกติ)ใช้แก้อาการท้องอืดเฟ้อ แน่จุกเสียดและปวดท้องแก้ไอและขับเหงื่อ ขับพยาธิ ขับน้ำนมในสตรีหลังคลอด ลดไข้ เป็นยาอายุวัฒนะ เป็นยารักษาหูด กลากเกลื้อน ต้านเชื้อรา เป็นยาสมุนไพร ใช้ไล่ หรือฆ่ายุง เป็นสมุนไพร ไล่แมลงวันทอง
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
แก้คลื่นไส้ อาเจียน (เกิดจากธาตุไม่ปกติ)อาการท้องอืดเฟ้อ แน่นจุกเสียด ปวดท้องใช้กะเพราทั้ง 5 ทั้งสด หรือ แห้ง ชงน้ำดื่ม รับประทานเด็กอ่อน ใช้ใบสด 3-4 ใบ ผู้ใหญ่ ใบแห้ง 1 กำมือ, 4 กรัม ผงแห้ง 1 ช้อนโต๊ะ หรือ 2 ช้อนแกง ใบสด 25 กรัมภายนอก เด็กอ่อน ใบสด 10 ใบ
วิธีใช้ : ยาภายใน เด็กอ่อน - ใช้ใบสด ใส่เกลือเล็กน้อย บดให้ละเอียด ผสมน้ำผึ้ง หยอดให้เด็กอ่อนเพิ่งคลอด 2-3 หยด เป็นเวลา 2-3 วัน จะช่วยขับลม และถ่ายขี้เทา
ผู้ใหญ่ - ใช้ใบกะเพราแห้ง ชงกับน้ำดื่ม เป็นยาขับลม ถ้าป่นเป็นผง ให้ชงกับน้ำรับประ คนโบราณใช้ใบกะเพราสดแกงเลียงให้สตรีหลังคลอดรับประทาน ช่วยขับลม บำรุงธาตุ ยายภายนอก ใช้ใบสดทาบริเวณท้องเด็กอ่อน จะลดอาการท้องขึ้น ท้องเฟ้อได้ กะเพรามี 2 ชนิด คือ กะเพราขาว และ กะเพราแดง กะเพราแดงมีฤทธิ์แรงกว่ากะเพราขาว ในทางยานิยมใช้กะเพราแดง แต่ถ้าประกอบอาหารมักใช้กะเพราขาว
ยาเพิ่มน้ำนมในสตรีหลังคลอดใช้ใบกะเพราสด 1 กำมือ แกงเลียงรับประทานบ่อยๆ หลังคลอดใหม่ๆ
เป็นยารักษากลากเกลื้อนใช้ใบสด 15-20 ใบ ตำหรือขยี้ให้น้ำออกมา ใช้ทาถูตรงบริเวณที่เป็นกลาก ทาวันละ 2-3 ครั้ง จนกว่าจะหาย
เป็นยารักษาหูดใช้ใบกะเพราแดงสด ขยี้ทาตรงหัวหูด เข้า-เย็น จนกว่าหัวหูดจะหลุด

ข้อควรระวัง : น้ำยางที่ใช้สำหรับกัดหูดนี้เป็นพิษมาก ดังนั้นควรใช้ด้วยความระวัง
- อย่าให้เข้าตา
- ให้กัดเฉพาะตรงที่เป็นหูด อย่าให้ยางถูกเนื้อดี ถ้าถูกเนื้อดี เนื้อดีจะเน่าเปื่อย ซึ่งรักษาให้หายได้ยาก
เป็นยาสมุนไพร ใช้ไล่หรือฆ่ายุงใช้ทั้งใบสดและกิ่งสด 1 กิ่งใหญ่ ๆ เอาใบมารขยี้ แล้ววางไว้ใกล้ๆ ตัว จะช่วยไล่ยุงได้ และยังสามารถไล่แมลงได้ด้วย น้ำมันกะเพรา เอาใบสดมากลั่น จะได้น้ำมันกะเพรา ซึ่งมีคุณสมบัติไล่ยุงได้ดีกว่าต้นสดๆ
เป็นสมุนไพรไล่แมลงวันทองใช้น้ำมันที่กลั่นจากใบสด ตามความเหมาะสม น้ำมันหอมระเหยนี้ไปล่อแมลง จะทำให้แมลงวันทองบินมาตอมน้ำมันนี้
สารเคมี : ในใบพบ Apigenin, Ocimol, Linalool , Essential Oil, Chavibetal

วันเสาร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2552

ยอบ้าน



ชื่อวิทยาศาสตร์ : Morinda citrifolia L.
ชื่อสามัญ :
Indian Mulberry
วงศ์ : Rubiaceae
ชื่ออื่น : ยอบ้าน (ภาคกลาง) มะตาเสือ (ภาคเหนือ) ยอ แยใหญ่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ไม้ต้น สูง 2-6 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาล แตกเป็นสะเก็ดแล้วหลุดออก กิ่งอ่อนเป็นสี่เหลี่ยม ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูปรี กว้าง 8-15 ซม. ยาว 10-20 ซม. ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียวเข้มเป็นมัน ดอก ออกเป็นช่อกลมตามซอกใบ ดอกสีขาว กลีบดอกโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 แฉก มีกลิ่นหอม ผล เป็นผลรวม ผิวขรุขระเป็นตุ่ม ผลสุกมีกลิ่นเหม็นเอียน เมล็ดสีน้ำตาลมีหลายเมล็ดส่วนที่ใช้ : ใบ ราก ผลดิบ ผลสุก
สรรพคุณ :
ใบ - มีวิตามินเอ 40,000 กว่ายูนิตสากลต่อ 100 กรัม มีคุณสมบัติในการบำรุงสายตา หัวใจ คั้นน้ำทาแก้โรคเก๊าท์ ปวดตามข้อเล็กๆ ของนิ้วมือ นิ้วเท้า หรือคั้นน้ำสระผมฆ่าเหา แก้กระษัย ใช้ใบปรุงเป็นอาหาร แก้ท้องร่วง
ราก - ใช้เป็นยาระบาย แก้กระษัย ใช้สกัดสีออกมา เป็นสีย้อมผ้าได้ โดยผสมส่วนของเกลือต่างๆ สามารถเปลี่ยนเป็นสีต่างๆ ได้ตามต้องการ ซึ่งสีเดิมของรากจะมีสีเหลือง หรือเหลืองปนแดง หากผสมตามส่วนด้วยเกลือ อาจจะได้สีแดง ชมพู น้ำตาลอ่อน สีม่วงแดง หรือสีดำ เป็นต้น
ผลโตเต็มที่แต่ไม่สุก - จิ้มน้ำผึ้งรับประทาน มีคุณสมบัติเป็นยาขับลม บำรุงธาตุ เจริญอาหาร ขับลมในลำไส้ กระเพาะอาหาร แก้เหงือกเปื่อยเป็นขุมบวม ขับเลือดลม ขับโลหิตประจำเดือน
ผลดิบ - ต้มน้ำรับประทานกับรากผักชี แก้อาการอาเจียนของหญิงมีครรภ์
วิธีและปริมาณที่ใช้ : นำผลยอโตเต็มที่แต่ไม่สุก ฝานเป็นชิ้นบางๆ ย่างหรือคั่วไฟอ่อนๆ ให้เหลืองกรอบ ใช้ครั้งละ 1 กำมือ (10-15 กรัม) ต้มหรือชงกับน้ำ เอาน้ำที่จิบทีละน้อย และบ่อยๆ ครั้งจะได้ผลดีกว่าดื่มครั้งเดียวสารเคมี : ผลยอนั้นมีสารเคมี Asperuloside, caproic acid, caprylic acid และ glucose

ปีกแมลงสาบ หรือ ก้ามปูหลุด



ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tradescantia zebrina Loudon ( Zebrina pendula Schnizl.)
วงศ์ :
Commelinaceae
ชื่ออื่น :
ก้ามปูหลุด (กรุงเทพฯ)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ไม้ล้มลุก แตกแขนงมาก ลำต้นทอดราบไปตามพื้นและชูส่วนปลายกิ่งสูง 10-30 ซม. ลำต้นอวบสีเขียวหรือเขียวประม่วงจนถึงม่วงลายเขียว มีข้อและปล้องชัด ใบเดี่ยว เรียงสลับ กาบใบเป็นปลอกหุ้มรอบข้อสูงประมาณ 1 ซม. ที่กาบใบมีลายเส้นสีม่วงเป็นแนวตามความยาวและมีขน ใบรูปไข่หรือรูปรี กว้าง 1.5-3 ซม. ยาว 3-8 ซม. ปลายแหลม โคนมน เบี้ยว ขอบเรียบ สีม่วงและมีขนประปราย เส้นกลางใบสีม่วง แผ่นใบด้านบนสีเขียวสลับแถบสีเงินและประสีม่วง ด้านล่างสีม่วงหรือม่วงสลับเขียว ช่อดอกสั้น ออกที่ยอด มีใบประดับใหญ่ 2 ใบ ซึ่งมีขนาดไม่เท่ากันประกบหุ้มช่อดอกอ่อนไว้ ดอกจะทยอยบานโผล่เหนือใบประดับ ดอกบานเต็มที่กว้างประมาณ 1 ซม. ก้านดอกสั้นมาก กลีบเลี้ยงสีขาว บาง โคนติดกันเป็นหลอด ยาวประมาณ 4 มม. ปลายแยกเป็น 2 แฉก มีขน กลีบดอกโคนติดกันเป็นหลอดเรียวสีขาว ยาวประมาณ 1 ซม. ปลายแยกเป็นกลีบรูปไข่ 3 กลีบ กว้าง 4-5 มม. ยาว 6-8 มม. กลีบด้านบนสีม่วง ด้านล่างสีขาว เกสรเพศผู้ 6 อัน ก้านชูอับเรณูสีขาว มีขนยาวสีม่วง อับเรณูสีนวล รังไข่เล็ก ก้านเกสรเพศเมียเรียว ยอดเกสรเพศเมียมี 3 แฉก ผลเล็กมากส่วนที่ใช้ : เก็บทั้งต้นสด ล้างสะอาด หรือตากแห้งเก็บเอาไว้ใช้
สรรพคุณ : ทั้งต้นรสชุ่ม เย็นจัด มีพิษ ใช้แก้อาเจียนเป็นโลหิต หนองใน ตกขาว บิด ฝีอักเสบ สตรีมีครรภ์ ห้ามรับประทาน ก้านและใบมี Calcium oxalate, Gum
วิธีและปริมาณที่ใช้ : ใช้ทั้งต้นแห้งหนัก 15- 30 กรัม (สดใช้ 60- 90 กรัม ) ต้มกับน้ำดื่มหรือคั้นเอาน้ำดื่ม
แก้ไอเป็นเลือด ใช้ต้นสด 60- 90 กรัม ต้มกับปอดหมูหนัก 120 กรัม ผสมน้ำต้มให้เหลือ 1 ชาม ดื่มหลังอาหารวันละ 2 ครั้ง
แก้โรคหนองใน ใช้ต้นสด 60- 120 กรัม ใส่น้ำต้มให้เหลือ 1 ถ้วย ดื่มหลังอาหารวันละ 2 ครั้ง
แก้สตรีมีตกขาวมาก ใช้ต้นสด 60- 120 กรัม น้ำตาลกรวด 30 กรัม ต่าฉ่าย (Mytilum crassitesta Lischke) 30 กรัม ผสมน้ำต้มให้เหลือครึ่งชาม ดื่มหลังอาหารวันละ 2 ครั้ง
แก้บิดเรื้อรัง ใช้กาบหุ้มดอกสดหนัก 150 กรัม ข้าวสารคั่วจนเกรียม (เริ่มไหม้) 30 กรัม ต้มน้ำแบ่งดื่มเป็น 3 ครั้ง

แคดอกขาว แคดอกแดง



ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sesbania grandiflora (L.) Desv.
ชื่อสามัญ : Agasta, Sesban, Vegetable humming bird
วงศ์ : Leguminosae - Papilionoideae
ชื่ออื่น : แค แคบ้านดอกแดง แคขาว (ภาคกลาง) แคแดง (เชียงใหม่)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 3-6 เมตร แตกกิ่งก้านสาขามาก เปลือกต้นสีน้ำตาลปนเทา ขรุขระ แตกเป็นสะเก็ด ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับ ใบย่อยรูปรีขอบขนาน กว้าง 1-1.5 ซม. ยาว 3-4 ซม. ปลายใบและโคนใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียว ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบ 2-4 ดอก ดอกสีขาวหรือแดง มีกลิ่นหอม ก้านเกสรเพศผู้สีขาว 60 อัน ผล เป็นฝัก ยาว 8-15 ซม. ฝักแก่แตกเป็น 2 ซีก เมล็ดกลมแป้น สีน้ำตาล มีหลายเมล็ดส่วนที่ใช้ : เปลือกต้น ดอก ใบสด ยอดอ่อน
สรรพคุณ :
เปลือก - ต้มหรือฝนรับประทาน แก้โรคบิดมีตัว- แก้มูกเลือด แก้ท้องเดิน ท้องร่วง คุมธาตุ- ภายนอก ใช้ชะล้างบาดแผล
ดอก,ใบ - รับประทานแก้ไข้เปลี่ยนอากาศ เปลี่ยนฤดู (แก้ไข้หัวลม) ชาวอินเดีย ใช้สูดน้ำที่คั้นได้จากดอกหรือใบแคเข้าจมูกรักษาโรค ริดสีดวงในจมูก และทำให้มีน้ำมูกออกมา แก้ปวดและหนักศีรษะ ลดความร้อน ลดไข้
ใบสด - รับประทานใบแคทำให้ระบาย- ใบแค ตำละเอียด พอกแก้ช้ำชอก
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
แก้มูกเลือด บิดมีตัว แก้ท้องเดิน ท้องร่วง คุมธาตุใช้เปลือกต้นปิ้งไฟ 1 ส่วน ต้มกับน้ำหรือน้ำปูนใส 10 ส่วน รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนแกง
แก้ไข้ ลดความร้อน แก้ไข้หัวลม (หรือไข้อากาศเปลี่ยน)- ใบสด ต้มกับน้ำรับประทานลดไข้ ใช้ยอดอ่อนจำนวนไม่จำกัด ลวกจิ้มกับน้ำพริก รับประทานแก้ปวดศีรษะข้างเดียว- ใช้ดอกที่โตเต็มที่ล้างน้ำ ต้มกับหมูทำบะช่อ 1 ชาม รับประทาน 1 มื้อ รับประทานติดต่อกัน 3-7 วัน จะได้ผล

ฝ้ายแดง



ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gossypium arboreum L.
ชื่อสามัญ :
Ceylon Cotton , Chinese Cotton , Tree Cotton
วงศ์ : Malvaceae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ไม้พุ่ม สูง 2.5-3.5 เมตร ลำต้นสีน้ำตาลแดง ใบ ใบเดี่ยวออกเวียนสลับ รูปไข่หรือค่อนข้างกลม กว้าง 4-5 เซนติเมตร ยาว 5-7 เซนติเมตร ขอบหยักลึก 3-7 แฉก ปลายแหลมหรือมน โคนเว้า ก้านใบและเส้นใบสีแดงคล้ำ ดอก สีแดงเข้ม หรือ สีเหลืองอ่อน กลางดอกสีม่วงแดง ออกเดี่ยวตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ใบประดับ 3 ใบ รูปสามเหลี่ยมซ้อนกัน กลีบเลี้ยง 5 กลีบ เชื่อมกันเป็นรูปถ้วย กลีบดอก ๕ กลีบ เกสรตัวผู้จำนวนมาก ก้านเกสรเชื่อมกันเป็นหลอดล้อมรอบเกสรตัวเมีย ปลายเกสรตัวเมียแยกเป็น 5 แฉก ผล กลม หัวท้ายแหลม เมื่อแก่แตกได้ เมล็ดค่อนข้าง กลมสีเขียว จำนวนมากคลุมด้วยขนยาวสีขาวส่วนที่ใช้ : เปลือกราก ใบ
สรรพคุณ :
เปลือกราก -
บดเป็นผง ชงน้ำเดือดดื่มช่วยขับปัสสาวะ บีบมดลูก ช่วยขับน้ำคาวปลา
ใบ - ปรุงเป็นยารับประทานแก้ไข้ ขับเหงื่อ จำพวกยาเขียว และเป็นยาเด็ก แก้พิษตานทรางของเด็กได้ดี

ลูกใต้ใบ



ชื่อวิทยาศาสตร์ : phyllanthus amarus Schum & Thonn.
ชื่อสามัญ :
Egg Woman
วงศ์ :
Euphorbiaceae
ชื่ออื่น :
มะขามป้อมดิน หญ้าใต้ใบ หญ้าใต้ใบขาว
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ไม้ล้มลุก สูง 10 - 60 เซนติเมตร ทุกส่วนมีรสขม ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียวปลายคี่ มีใบย่อย 23 - 25 ใบ ใบย่อยรูปขอบขนานแกมไข่กลับ ปลายใบมนกว้างโคนใบมนแคบ ขนาดประมาณ 0.40 X 1.00 เซนติเมตร ก้านใบสั้นมากและมีหูใบสีขาวนวลรูปสามเหลี่ยมปลายแหลมเกาะติด 2 อัน ดอกแยกเพศ เพศเมียมักอยู่ส่วนโคน เพศผู้มักอยู่ส่วนปลายก้านใบ ดอกขนาดเล็กสีขาว เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.08 เซนติเมตร ผลทรงกลมผิวเรียบสีเขียวอ่อนนวล ขนาดประมาณ 0.15 เซนติเมตร เกาะติดอยู่ที่ใต้โคนใบย่อย เมื่อแก่จะแตกเป็น 6 พู แต่ละพูจะมี 1 เมล็ด เมล็ดสีน้ำตาลรูปเสี้ยว 1/6 ของทรงกลม ขนาดประมาณ 0.10 เซนติเมตรส่วนที่ใช้ : ทั้งต้นสด
สรรพคุณ : เป็นยาแก้ไข้ ลดความร้อน ขับปัสสาวะ
วิธีและปริมาณที่ใช้ : นำต้นสด 1 กำมือ ต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือ 1 ½ ถ้วยแก้ว รับประทานครั้งละครึ่งถ้วยแก้ว
สารเคมี : Potassium, phyllanthin, hypophyllanthin

พิมเสนต้น



ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pogostemon cablin (Blanco) Benth.
ชื่อพ้อง : P. patchouli Pellet var. suavis Hook f.
ชื่อสามัญ :
Patchouli
วงศ์ :
Labiatae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ไม้ล้มลุก สูง 30-75 ซม. ทุกส่วนมีกลิ่นหอม ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่ กว้าง 5-8 ซม. ยาว 7-10 ซม. ขอบใบหยักมน ดอกช่อ ออกที่ซอกใบและปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาวประม่วง ผลแห้ง ไม่แตกส่วนที่ใช้ : ใบ
สรรพคุณ :
ใบ - ปรุงเป็นยาเย็น ถอนพิษร้อน แก้ไข้ทุกชนิด ทำให้ความร้อนในร่างกายลดลง โดยมากมักปรุงเป็นยาเขียว ถอนพิษไข้ และยาหอมก็เข้าใบพิมเสนต้นนี้

มะปราง



ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bouea macrophylla Griffith
ชื่อสามัญ : Marian Plum , Plum Mango
วงศ์ : Anacardiaceae
ชื่ออื่น :
ปราง (ภาคใต้)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ไม้ต้น มีทรงต้นค่อนข้างแหลม มีกิ่งก้านสาขาค่อนข้างทึบต้นโต มีขนาดสูง 15-30 เซนติเมตร มีรากแก้วแข็งแรง ใบ มะปรางเป็นไม้ผลที่มีใบมาก ใบเรียว ขนาดใบโดยเฉลี่ยกว้าง 3.5 เซนติเมตร ยาว 14 เซนติเมตร ปีหนึ่งมะปรางจะแตกใบอ่อน 1-3 ครั้ง ดอก มะปรางจะมีดอกเป็นช่อ เกิดบริเวณปลายกิ่งแขนง ช่อดอกยาว 8-15 เซนติเมตร เป็นดอกสมบูรณ์เพศ (เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน) ดอกบานจะมีสีเหลือง ในไทยออกดอกช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม ผล มีลักษณะทรงกลมรูปไข่และกลม ปลายเรียวแหลม มะปรางช่อหนึ่งมีผล 1-15 ผล ผลดิบมีสีเขียวอ่อน-เขียวเข้มตามอายุของผล ผลสุกมีสีเหลืองหรือเหลืองอมส้ม เปลือกผลนิ่ม เนื้อสีเหลืองแดงส้มออกแดงแล้วแต่ชนิดพันธุ์ รสชาติหวาน-อมหวานอมเปรี้ยว หรือเปรี้ยว-เปรี้ยวจัด เมล็ด มะปรางผลหนึ่งจะมี 1 เมล็ด ส่วนผิวของกะลาเมล็ดมีลักษณะเป็นเส้นใย เนื้อของเมล็ดทั้งสีขาวและสีชมพูอมม่วง รสขมฝาดและขม ลักษณะเมล็ดคล้ายเมล็ดมะม่วง หนึ่งเมล็ดเพาะกล้าได้ 1 ต้น ส่วนที่ใช้ : ราก ใบ น้ำจากต้น
สรรพคุณ :
ราก -
แก้ไข้กลับ ถอนพิษสำแดง
ใบ - ยาพอกแก้ปวดศีรษะ
น้ำจากต้น - ยาอมกลั้วคอ

ย่านาง



ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tiliacora triandra (Colebr.) Diels
ชื่อสามัญ :
Bamboo grass
วงศ์ :
Menispermaceae
ชื่ออื่น : จ้อยนาง (เชียงใหม่) เถาย่านาง เถาวัลย์เขียว (กลาง) ยาดนาง (สุราษฎร์ธานี)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ไม้เถาเลื้อยพัน กิ่งอ่อนมีขนอ่อนปกคลุม เมื่อแก่แล้วผิวค่อนข้างเรียบ รากมีขนาดใหญ่ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกติดกับลำต้นแบบสลับ รูปร่างใบคล้ายรูปไข่หรือรูปไข่ขอบขนานปลายใบเรียว ฐานใบมน ขนาดใบยาว 5 - 10 ซม. กว้าง 2 - 4 ซม. ขอบใบเรียบ ก้านใบยาว 1 ซม. ดอกออกตามซอกโคนก้านใบเป็นช่องยาว 2 - 5 ซม. ช่อหนึ่ง ๆ มีดอกขนาดเล็กสีเหลือง 3 - 5 ดอก ดอกแยกเพศอยู่คนละต้นไม่มีกลีบดอก ผลรูปร่างกลมรีขนาดเล็ก สีเขียว เมื่อแก่กลายเป็นสีเหลืองอมแดงและกลายเป็นสีดำส่วนที่ใช้ : รากแห้ง
สรรพคุณ :
รากแห้ง - แก้ไข้ทุกชนิด
วิธีและปริมาณที่ใช้ : ใช้รากแห้งครั้งละ 1 กำมือ (15 กรัม) ต้มกับน้ำ ดื่มก่อนอาหาร วันละ 3 ครั้ง
สารเคมี : รากมี isoquinolone alkaloid ได้แก่ tilacorine, tiacorinine, nortiliacorinine A, tiliacotinine 2 - N - Oxide, และ tiliandrine, tetraandrine, D - isochondrodendrine (isoberberine)

สะเดาอินเดีย



ชื่อวิทยาศาสตร์ : Azadirachta indica A. Juss. var. indica
ชื่อสามัญ :
Neem
วงศ์ : Meliaceae
ชื่ออื่น :
ควินิน (ทั่วไป)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ไม้ต้น สูง 8-12 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาล ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับ รูปรี โคนใบเบี้ยว ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อย แผ่นใบเรียบ สีเขียวเป็นมัน ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบใกล้ปลายยอด ดอกสีขาว กลีบดอกมี 5 กลีบ ปลายกลีบมน โคนเรียว ผล เป็นผลสด รูปกลมรี ผิวเรียบเป็นมัน ผลอ่อนสีเขียว สุกสีเหลือง เมล็ดเดี่ยวส่วนที่ใช้ : เปลือก ต้น ใบสด
สรรพคุณ : เป็นยาแก้ไข้มาเลเรีย หรือไข้จับสั่น ไข้ประจำฤดูได้ดี
วิธีและปริมาณที่ใช้ : ใช้เปลือกสด 1 ฝ่ามือ หรือใบสด 2 กำมือ ต้มกับน้ำ 4 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือ 2 ถ้วยแก้ว รับประทานครั้งละครึ่งถ้วยแก้ว วันละ 2 ครั้ง หลังอาหาร เช้า-เย็น จนกว่าจะหายไข้

วันศุกร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2552

กานพลู



ชื่อวิทยาศาสตร์ : Syzygium aromaticum (L.) Merr.& L.M.Perry
ชื่อพ้อง : Caryophyllus aromatica L. ; Eugenia aromatica (L.) Baill; E.Caryophylla (Spreng.) Bullock et Harrison; E.caryophyllata Thunb.
ชื่อสามัญ : Clove Tree
วงศ์ : Myrtaceae
ชื่ออื่น :
-
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ไม้ต้น สูง 9-12 เมตร อาจสูงได้ถึง 20 เมตร เรือนยอดเป็นรูปกรวยคว่ำ แตกกิ่งต่ำ ลำต้นตั้งตรง เปลือกเรียบ สีเทา ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปใบหอก รูปรี หรือรูปไข่กลับแคบๆ กว้าง 8-11 ซม. ยาว 32-37 ซม. ปลายแหลมหรือเรียวแหลม โคนสอบแคบ ขอบเรียบ แผ่นใบด้านบนเป็นมัน มีต่อมน้ำมันมาก เส้นแขนงใบข้างละ 15-20 เส้น ปลายเส้นโค้งจรดกับเส้นถัดไปก่อนถึงขอบใบ ก้านใบยาว 1-2.5 ซม. ช่อดอกแบบช่อเชิงหลั่น ออกที่ปลายยอด ยาวประมาณ 5 ซม. ก้านช่อดอกสั้นมาก แต่อาจยาวได้ถึง 1 ซม. ใบประดับรูปสามเหลี่ยม ยาว 2-3 มม. กลีบเลี้ยง 4 กลีบ โคนติดกันเป็นหลอดยาว 5-7 มม. เมื่อเป็นผลขยายออกเป็นรูปกรวยยาวประมาณ 1 ซม. ปลายแยกเป็นแฉกรูปไข่ ยาว 3-4 มม. กลีบดอก 4 กลีบ รูปขอบขนานหรือกลม ยาว 7-8 มม. มีต่อมมน้ำมันมาก ร่วงง่าย เกสรเพศผู้จำนวนมาก ร่วงง่าย ก้านชูอับเรณูยาวประมาณ 7 มม. ก้านเกสรเพศเมียยาวประมาณ 4 มม. ผล รูปไข่กลับกามรูปรี ยาว 2-2.5 ซม. แก่จัดสีแดง มี 1 เมล็ด กานพลูเป็นพรรณไม้พื้นเมืองของหมู่เกาะโมลุกกะ น้ำไปปลูกในเขตร้อนทั่วโลก ในปะเทศไทยนำมาปลูกบ้างแต่ไม่แพร่หลาย ชอบขึ้นในดินร่วนซุย การระบายน้ำดี ความชื้นสูง ฝนตกชุก ขึ้นได้ดีบนพื้นที่ราบถึงที่สูงจากระดับน้ำทะเล 800-900 เมตรส่วนที่ใช้ : เปลือกต้น ใบ ดอกตูม ผล น้ำมันหอมระเหยกานพลุ
สรรพคุณ :
เปลือกต้น -
แก้ปวดท้อง แก้ลม คุมธาตุ
ใบ - แก้ปวดมวน
ดอกตูม - รับประทานขับลม ใช้แต่งกลิ่นดอกกานพลูแห้ง ที่ยังไม่ได้สกัดเอาน้ำมันออก และมีกลิ่นหอมจัด มีน้ำมันหอมระเหยมาก รสเผ็ด ช่วยขับลม แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดท้อง และแน่นจุกเสียด แก้อุจจาระพิการ แก้โรคเหน็บชา แก้หืด แก้ไอ แก้น้ำเหลืองเสีย แก้เลือดเสีย ขับน้ำคาวปลา แก้ลม แก้ธาตุพิการ บำรุงธาตุ ขับเสมหะ แก้เสมหะเหนียว ขับผายลม ขับลมในลำไส้ แก้ท้องเสียในเด็ก แก้ปากเหม็น แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้รำมะนาด กับกลิ่นเหล้า แก้ปวดฟัน
ผล - ใช้เป็นเครื่องเทศ เป็นตัวช่วยให้มีกลิ่นหอม
น้ำมันหอมระเหยกานพลู - ใช้เป็นยาชาเฉพาะแห่ง แก้ปวดฟัน ฆ่าเชื้อทางทันตกรรม เป็นยาระงับการชักกระตุก ทำให้ผิวหนังชา
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
แก้อาการท้องขึ้น ท้องอืดเฟ้อ ขับลม และปวดท้องใช้ดอกกานพลูโตเต็มที่ ที่ยังตูมอยู่ 4-6 ดอก หรือ 0.25 กรัมในผู้ใหญ่ - ใช้ทุบให้ช้ำ ชงน้ำดื่มครั้งละครึ่งถ้วยแก้วในเด็ก - ใช้ 1 ดอก ทุบแล้วใส่ลงในขวดนมเด็กอ่อน - ใช้ 1 ดอก ทุบใส่ในกระติกน้ำที่ไว้ชงนม ช่วยไม่ให้เด็กท้องขึ้นท้องเฟ้อได้
ยาแก้ปวดฟันใช้นำมันจากการกลั่นดอกตูมของดอกกานพลู 4-5 หยด ใช้สำลีพันปลายไม้ จุ่มน้ำมันจิ้มในรูฟันที่ปวด จะทำให้อาการปวดทุเลา และใช้แก้โรครำมะนาดก็ได้หรือใช้ทั้งดอกเคี้ยว แล้วอมไว้ตรงบริเวณที่ปวดฟันเพื่อระงับอาการปวด หรือใช้ ดอกกานพลูตำพอแหลกผสมกับเหล้าขาวเพียงเล็กน้อยพอแฉะใช้จิ้มหรืออุดฟันที่ปวด
ระงับกลิ่นปากใช้ดอกตูม 2-3 ดอก อมไว้ในปาก จะช่วยทำให้ระงับกลิ่นปากลงได้บ้าง
สารเคมี : Eugenol, Cinnamic aldehyde Vanillin น้ำมันหอมระเหย Caryophylla - 3(12)-6-dien-4-ol

เทพธาโร



ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cinnamomum porrectum (Roxb.) Kosterm.
วงศ์ :
Lauraceae
ชื่ออื่น :
จวง จวงหอม (ภาคใต้) จะไคต้น จะไคหอม (ภาคเหนือ) พลูต้นขาว (เชียงใหม่) มือแดกะมางิง (มลายู-ปัตตานี) การบูร (หนองคาย)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ไม้ต้น สูง 10 – 30 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่ม ทึบ กิ่งอ่อนเกลี้ยงและมักจะมีคราบขาว เปลือกสีเทาอมเขียวหรือสีน้ำตาลคล้ำ แตกเป็นร่องยาวตามลำต้น ใบ เดี่ยว เรียงตรงข้าม แผ่นใบรูปรีแกมรูปไข่ ยาว 7 – 20 เซนติเมตร ปลายแหลม โคนสอบ ก้านใบเรียวเล็ก ยาวประมาณ 2.5 – 3.5 เซนติเมตร ดอก สีขาว เหลืองอ่อน ออกเป็นช่อประจุกตามปลายกิ่ง ผลกลมเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.7 เซนติเมตร สีเขียว
ส่วนที่ใช้ : ใบ เปลือก ต้น
สรรพคุณ :
ใบ -
รสร้อน ใช้ปรุงเป็นยาหอมแก้ลม จุกเสียดแน่นเฟ้อ แก้อาการปวดท้อง ขับผายลมได้ดี ขับลมในลำไส้และกระเพาะอาหารให้เรอ เป็นยาบำรุงธาตุ ขับเสมหะ
เปลือก - รสร้อน มีน้ำมันระเหย 1-25 % และแทนนิน แก้ลมจุกเสียด แน่นเฟ้อ แก้ปวดท้อง ขับลมในลำไส้และกระเพาะอาหาร บำรุงธาตุ
วิธีการใช้ : เนื้อไม้สีขาว มีกลิ่นหอมฉุนเหมือนกลิ่นการะบูน อาจกลั่นเอาน้ำมันระเหยออกมาจากเนื้อไม้นี้ได้ และอาจดัดแปลงทางเคมี ให้เป็นการะบูนได้ ใบมีกลิ่นหอมเป็นเครื่องเทศตามร้านขายยาสมุนไพรในประเทศไทย ใช้ใบนี้เป็นใบกระวานสำหรับใส่เครื่องแกงมัสหมั่น ทุกร้านถ้าเราไปขอซื้อใบกระวานจะได้ใบไม้นี้ ส่วนใบกระวานจริงๆ เราไม่ได้ใช้กัน (ใบกระวานจริงๆ ลักษณะเหมือนใบข่า)

ดีปลี



ชื่อวิทยาศาสตร์ : Piper retrofractum Vahl
ชื่อสามัญ :
long pepper
วงศ์ : Piperaceae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ไม้เถารากฝอยออกบริเวณข้อเพื่อใช้ยึดเกาะ ใบ เดี่ยวรูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง 3-5 ซม. ยาว 7-10 ซม. สีเขียวเข้มเป็นมัน ดอก ช่อ ออกที่ซอกใบ ดอกย่อยอัดกันแน่น แยกเพศ ผล เป็นผลสด มีสีเขียว เมื่อสุกจะเปลี่ยนเป็นสีแดง รสเผ็ดร้อน
ส่วนที่ใช้ : ราก เถา ใบ ดอก ผลแก่จัด แต่ยังไม่สุก หรือตากแดดให้แห้ง
สรรพคุณ :
ราก -
แก้พิษอัมพฤกษ์ อัมพาต พิษปัตคาด แก้ตัวร้อน แก้พิษคุดทะราดให้ปิดธาตุ แก้ท้องร่วง ขับลมในลำไส้ แก้คุดทะราด
เถา - แก้พิษงู ขับเสมหะ แก้ปวดฟัน ปวดท้อง จุกเสียด แก้เสมหะพิการ แก้ลมอัมพฤกษ์ แก้มุตฆาต
ใบ - แก้ปวดเมื่อย แก้เส้นเอ็น
ดอก - แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน แก้จุกเสียดแน่นท้อง ขับลมในลำไส้ให้ผายและเรอ แก้หืด ไอ แก้ริดสีดวง คุดทะราด แก้ลมวิงเวียน แก้เสมหะ น้ำลายเหนียว แก้ไอ บำรุงธาตุ แก้ท้องเสีย แก้ปถวีธาตุ 20 ประการ แก้อัมพาต และเส้นปัตคาด
ผลแก่จัด - รสเผ็ดร้อน แก้ลม บำรุงธาตุไฟ แก้หืดไอ แก้เสมหะ(หลังเป็นหวัด) แก้หลอดลมอักเสบ ยาขับระดู ยาธาตุ ทาแก้ปวดเมื่อยและอักเสบของกล้ามเนื้อ แก้อาการท้องขึ้น ท้องอืดเฟ้อแน่นจุกเสียด ขับลม บำรุงธาตุ ใช้ประกอบตำรายาที่ใช้รักษาโรคเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร ธาตุไม่ปกติ (ใช้เป็นยาขับลม แต่ไม่นิยมใช้ โดยมากนำมาเป็นเครื่องเทศ)
วิธีและปริมาณที่ใช้
อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และปวดท้อง และแก้อาการคลื่นไส้อาเจียนที่เกิดจากธาตุไม่ปกติโดยใช้ผลดีปลีแก่แห้ง 1 กำมือ (ประมาณ 10-15 ผล) ต้มเอาน้ำดื่ม ถ้าไม่มีผลใช้เถาต้มแทนได้
อาการไอ และขับเสมหะใช้ผลแห้งแก่ ประมาณครึ่งผล ฝนกับน้ำมะนาวแทรกเกลือเล็กน้อย กวาดคอ หรือจิบบ่อยๆ
ผลดีปลีแห้งใช้เป็นเครื่องเทศ ประกอบอาหาร มีรสเผ็ดร้อน ขม
สารเคมีที่พบ มีน้ำมันหอมระเหย และแอลคาลอยด์ ชื่อ P-Methoxy acetophenone, Dihydrocarveol, Piperine, Pipelatine Piperlongumine, Sylvatine และ Pyridine alkaloids อื่นๆ

โหระพา



ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ocimum basilicum L.
ชื่อสามัญ :
Sweet Basil
วงศ์ :
Labiatae
ชื่ออื่น :
ห่อกวยซวย ห่อวอซุ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) อิ่มคิมขาว (ฉาน-แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นพืชล้มลุก ลำต้นมีขนาดเล็ก มีลักษณะหรือลักษณะพิเศษของโหระพาดังนี้ เป็นพืชที่มีอายุได้หลายฤดู มีลักษณะลำต้นเป็นสี่เหลี่ยมและเป็นพุ่ม ลำต้นจะแตกแขนงได้มากมาย กิ่งก้านมีสีม่วงแดง มีขนอ่อนๆ ที่ผิวลำต้น ใบมีรูปร่างแบบรูปไข่ปกติจะยาวไม่เกิน ๒ นิ้ว ใบจะเรียงตัวแบบตรงกันข้ามกัน ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อย ใบมีสีเขียวอมม่วงและมีก้านใบยาว ดอกโหระพา ดอกมีขนาดเล็กสีขาวหรือม่วงจะออกเป็นช่อคล้ายฉัตรที่ยอด ดอกมีทั้งสีม่วง แดงอ่อน และสีขาว ในแต่ละดอกจะมีเกสรตัวผู้ ๔ อัน รังไข่แต่ละอันจะมีสีม่วง เมล็ดมีสีดำมีกลิ่นหอมทั้งต้น ส่วนที่ใช้ : ทั้งต้น เมล็ด และราก
ทั้งต้น - เก็บเมื่อเริ่มเข้าฤดูหนาว ขณะเจริญเต็มที่ มีดอกและผลล้างให้สะอาด หั่นเป็นท่อนตาแห้งเก็บไว้ใช้
เมล็ด - นำต้นไปเคาะ แยกเอาเมล็ดตากแห้งเก็บไว้ใช้ (ระวังไม่ให้ถูกน้ำเพราะจะจับกันเป็นก้อน)
ราก - ใช้รากสด หรือตากแห้ง เก็บไว้ใช้
สรรพคุณ :
ทั้งต้น -
รสฉุน สุขุม ขับลม ทำให้เจริญอาหาร- แก้ปวดหัว หวัด ปวดกระเพาะอาหาร- จุกเสียดแน่น ท้องเสีย- ประจำเดือนผิดปกติ- ฟกช้ำจากหกล้ม หรือกระทบกระแทก งูกัด- ผดผื่นคัน มีน้ำเหลือง
เมล็ด- รสชุ่ม เย็น สุขุม ถูกน้ำจะพองตัวเป็นเมือก- ใช้แก้ตาแดง มีขี้ตามาก ต้อตา- ใช้เป็นยาระบาย (ใช้เมล็ด 4-12 กรัม แช่น้ำเย็นจนพอง ผสมน้ำหวาน เติมน้ำแข็งรับประทาน)
ราก - แก้เด็กเป็นแผล มีหนองเรื้อรัง
วิธีและปริมาณที่ใช้
ทั้งต้น -
แห้ง 6-10 กรัม ต้มน้ำดื่ม หรือใช้สดคั้นเอาน้ำดื่ม ใช้ภายนอก ตำพอก หรือต้มน้ำชะล้าง หรือเผาเป็นเถ้า บดเป็นผง ผสมทา
มล็ด - แห้ง 2.5-5 กรัม ต้มน้ำหรือแช่น้ำดื่ม ใช้ภายนอก บดเป็นผงแต้มทา
ราก - เผา เป็นเถ้าพอก
ใบ - ใช้ใบคั้นเอาน้ำ 2-4 กรัม ผสมน้ำผึ้ง จิบแก้ไอและหลอดลมอักเสบ- ใช้สำลีก้อนเล็กๆ ชุบน้ำคั้นจากใบอุดโพรงฟันที่ปวด แก้ปวดฟัน
สารเคมี น้ำมันหอมระเหยจากใบ ประกอบด้วย Ocimine, alpha-pinene, 1,8- cineole, eucalyptol ,linalool, geraniol,limonene, eugenol, methyl chavicol, eugenol methyl ether.methyl cinnaminate, 3- hexen -1- ol, estragol

พริกไทย



ชื่อวิทยาศาสตร์ : Piper nigrum L.
ชื่อสามัญ :
Black Pepper
วงศ์ :
Piperaceae
ชื่ออื่น :
พริกน้อย (ภาคเหนือ)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
เป็นไม้เลื้อยมีทั้งต้นตัวผู้และต้นตัวเมีย ลำต้นมีข้อและป้องชัดเจน ใบเดี่ยวออกสลับ รูปไข่หรือรี ปลายใบแหลม โคนใบมนกลมหรือแหลมเล็กน้อย ใบมีขนาดกว้าง 3.5 - 6 ซม. ยาว 7 - 10 ซม. เส้นใบที่บริเวณโคนใบมี 3 - 5 เส้น ดอกออกเป็นช่อและออกตรงข้ามกับใบ ช่อรูปก้านใบยาว 10 - 20 มม. ติดอยู่ตามแกนช่อดอกรองรับดอก รังไข่กลมปลายเกสรแยก 3 - 6 แฉก ช่อดอกตัวผู้มีดอกที่มีเกสรตัวผู้ 2 อัน ผลรวมกันบนช่อยาว 5 - 15 ซม. ผลรูปทรงกลมขนาด 4 - 5 ซม. แก่แล้วมีเมล็ดสีดำ ภายในมี 2 เมล็ด
ส่วนที่ใช้ : ใบ ผล เมล็ด ดอก
สรรพคุณ :
ใบ -
แก้ลมจุกเสียดแน่น ท้องอืดเฟ้อ
ผล - ผลที่ยังไม่สุกนำมาเป็นเครื่องเทศ แต่งกลิ่นอาหาร
เมล็ด - ขับลม ขับเสมหะ ขับเหงื่อ ขับปัสสาวะ บำรุงธาตุ อาหารไม่ย่อย
ดอก - แก้ตาแดง ถนอมอาหารหลายชนิด เช่น มะม่วงดอง
วิธีและปริมาณที่ใช้ : ใช้เมล็ด 0.5-1 กรัม ประมาณ 15-20 เมล็ด บดเป็นผง ชงรับประทาน 1 ครั้ง

สารเคมี : มีน้ำมันหอมระเหย 2-4 % มีแอลคาลอยด์หลักคือ piperine 5-9% ซึ่งเป็นตัวทำให้มีความเผ็ด นอกจากนี้ยังพบ piperidine, pipercanine เป็นตัวทำให้มีกลิ่นฉุนและรสเผ็ด (ซึ่งเดิมคิดว่าเป็น chavicine) พริกไทยอ่อนนั้นมีน้ำมันหอมระเหยต่ำกว่า พริกไทยดำ และมีโปรตีน 11% คาร์โบไฮเดรต 65

อบเชยเทศ



ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cinnamomum verum J.Presl
ชื่อสามัญ :
Cinnamon Tree
วงศ์ : Lauraceae
ชื่ออื่น : -
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ไม่ผลัดใบ เปลือกลำต้นมีสีเทาและหนา กิ่งขนานกับพื้นและตั้งชันขึ้น ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกลับกันตามลำต้น ลักษณะใบคล้ายรูปไข่ ปลายใบแหลม มีเส้นใบสามเส้น ดอก ออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ขนาดเล็ก สีเหลือง มีกลิ่นหอม ผลมีสีดำคล้ายรูปไข่ส่วนที่ใช้ : เปลือกต้น ใบ
สรรพคุณ :
เปลือกต้น -
ใช้บำรุงดวงจิต แก้อ่อนเพลีย ทำให้มีกำลัง
- ใช้ขับลม บำรุงธาตุ - บดเป็นผงใช้เป็นเครื่องเทศใส่อาหาร
- ใส่เครื่องสำอาง- ใช้ปรุงเป็นยาหอม แก้ลมวิงเวียน และจุกเสียด
ใบ- มีน้ำมัน ใช้แต่งกลิ่น- ฆ่าเชื้อ

กุหลาบมอญ



ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rosa damascena Mill.
ชื่อสามัญ :
Rose, Damask rose
วงศ์ :
Rosaceae
ชื่ออื่น :
กุหลาบออน (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) , ยี่สุ่น (กรุงเทพฯ)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 1-2 เมตร ลำต้นและกิ่งมีหนาม ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก รูปไข่ กว้าง 2-4 ซม. ยาว 3-5 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบมนขอบจักเป็นฟันเลื่อย ออกดอกเป็นช่อดอกสีชมพูหรือสีแดง ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง อยู่รวมเป็นกระจุก 3-5 ดอกมีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ มีกลีบดอกจำนวนมากเรียงซ้อนกันหลายชั้นเมื่อดอกบานมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 4.5-7 ซม. มีกลิ่นหอมแรงมากดอกดกและบานได้หลายวัน ออกดอกตลอดปีส่วนที่ใช้ : ดอกแห้ง และสด
สรรพคุณ :
ดอกแห้ง -
เป็นยาระบายอ่อนๆ - แก้อาการอ่อนเพลีย บำรุงหัวใจ
ดอกสด- กลั่นให้น้ำมันกุหลาบ แต่งกลิ่นยาและเครื่องสำอาง
วิธีใช้ - ใช้ดอกแห้งเข้ายาหอมบำรุงหัวใจ

สารภี



ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mammea siamensis Kosterm.

ชื่อพ้อง : Ochrocarpus siamensis T.Anders
วงศ์ : GUTTIFERAE
ชื่ออื่น :
สร้อยภี (ภาคใต้)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูงประมาณ 12-20 เมตร เป็นไม้ไม่ผลัดใบ ลำต้นตรง ขรุขระเล็กน้อย เปลือกเป็นสะเก็ดเล็ก ๆ ผิวเปลือกมีสีน้ำตาล แตกกิ่งแน่น ปลายกิ่งมักห้อยลงลำต้นและกิ่งมียางสีเหลืองหรือขาว ใบรูปไข่ปลายมนกว้าง บางทีปลายใบเว้าลงเล็กน้อย ใบแตกออกเป็นคู่ตรงข้ามกันที่บริเวณกิ่ง โคนใบสอบเรียวแหลมถึงก้านใบ เนื้อใบหนาเกลี้ยงสีเขียว ขนาดความกว้างของใบประมาณ 5-8 เซนติเมตร ยาวประมาณ 9-12 เซนติเมตร ออกดอกเป็นช่อเดี่ยว ตามกิ่ง มีกลีบดอก 5 กลีบ มีสีขาวกลิ่นหอม ตรงกลางดอกมีเกสรตัวผู้เส้นเล็ก ๆ เป็นวง มีสีเหลือง ขนาดดอกกว้างประมาณ 2 เซนติเมตร ผลกลมเป็นรูปกระปุกเล็ก ผิวเรียบสีเขียว เมื่อสุกมีสีเหลือง เนื้อในมีรสหวาน ขนาดผลยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตรส่วนที่ใช้ : ดอก ผลสุก
สรรพคุณ :
ดอกสดและแห้ง -
ใช้เข้ายาหอมบำรุงหัวใจ
ดอกตูม - ย้อมผ้าไหม ให้สีแดง
ผลสุก - รับประทานได้ มีรสหวาน เป็นยาบำรุงหัวใจ ขยายหลอดโลหิต

มะลิลา



ชื่อวิทยาศาสตร์ : Jasminum Sambac (L.) Aiton
ชื่อสามัญ :
Arabian jasmine
วงศ์ : OLEACEAE
ชื่ออื่น :
มะลิ, มะลิลา (ทั่วไป), มะลิซ้อน (ภาคกลาง), มะลิขี้ไก่ (เชียงใหม่), มะลิหลวง (แม่ฮ่องสอน), มะลิป้อม (ภาคเหนือ), ข้าวแตก (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), เตียมูน (ละว้า-เชียงใหม่)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้พุ่ม บางพันธุ์เป็นไม้รอเลื้อย สูง 0.3-3 เมตร ใบเรียงตรงข้าม เป็นใบประกอบชนิดที่มีใบย่อย ใบเดี่ยว รูปไข่ กว้าง 3-6 ซม. ยาว 5-10 ซม. ดอกดอกเป็นช่อเล็ก ๆ มีทั้งดอกลาและดอกซ้อน ดอกสีขาว โคนดอกติดกันเป็นหลอด สีเขียวอมเหลือง ดอกกลางบานก่อน กลีบเลี้ยงแยกเป็นส่วน 7-10 ส่วน มีขนละเอียด ยาว 2 1/2-7 ซม. โคนกลีบดอกเชื่อมเป็นหลอด ยาว 7-15 มม. ส่วนปลายแยกเป็นส่วนรูปไข่ แกมรี สีขาว อาจมีสีม่วงด้านนอกหรือเมื่อดอกร่วงยาว 8-15 มม. ดอกอาจซ้อนหรือลา ผลสด (berry) สีดำ แต่ยังไม่พบใน กทม. ดอกมีกลิ่น หอม ออกดอกตลอดปี แต่ดอกมีน้อยในฤดูหนาว ส่วนที่ใช้ : ใบ ราก ดอกแก่
สรรพคุณ :
ใบ, ราก -
ทำยาหยอดตา
ดอกแก่ - เข้ายาหอม แก้หืด บำรุงหัวใจ
ราก - ฝนรับประทาน แก้ร้อนใน, เสียดท้อง รักษาหลอดลมอักเสบ ขับประจำเดือน
ใบ - ตำให้ละเอียด ผสมกับน้ำมะพร้าวใหม่ๆ นำไปลนไฟ ทารักษาแผล ฝีพุพอง แก้ไข้ ขับน้ำนม
วิธีใช้ : ใช้ดอกแห้ง 1.5 - 3 กรัม ต้มน้ำหรือชงน้ำร้อนดื่ม

สารเคมี :
ดอก
พบ benzyl alcohol, benzyl alcohol ester, jasmone, linalool, linalol ester
ใบ พบ jasminin sambacin

บุนนาค



ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mesua ferrea L.
ชื่อสามัญ :
Iron wood, Indian rose chestnut
วงศ์ : GUTTIFERAE
ชื่ออื่น :
ก๊าก่อ ก้ำก่อ นาคบุตร ปะนาคอ สารภีดอย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ 15-25 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ ไม่ผลัดใบ ใบ เป็นใบเดี่ยว แผ่นใบหนา รูปหอกหรือรูปขอบขนานแกมรูปหอก ขนาดกว้าง 2-3 ซม. ยาว 8-12 ซม. ปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบ ผิวใบเรียบเกลี้ยง ท้องใบมีคราบขาวปกคลุม ดอก เป็นดอกเดี่ยว หรือเกิดเป็นกระจุกตามง่ามใบ กลีบดอกสีขาวจนถึงสีเหลืองอ่อน ออกดอกระหว่างช่วงฤดูร้อนถึงฤดูฝน ผล รูปไข่ ส่วนปลายโค้งแหลม โดยยังมีส่วนกลีบรองดอกขยายใหญ่ขึ้นติดอยู่ ภายในมีเมล็ด 1-2 เมล็ดส่วนที่ใช้ : ดอกสดและแห้ง ผล ใบ แก่น ราก เปลือก กระพี้
สรรพคุณ :
ดอก - กลั่นให้น้ำมันหอมระเหย ใช้ในการอบเครื่องหอมได้ดี ใช้แต่งกลิ่นสบู่
ดอกแห้ง - ใช้เข้ายาหอม แต่งกลิ่นแต่งรสทำให้รับประทานง่าย เป็นยาหอมบำรุงดวงจิตให้ชุ่มชื่น บำรุงหัวใจ เป็นยาขับเสมหะบำรุงโลหิต แก้ร้อนกระสับกระส่าย แก้ลมกองละเอียด ซึ่งทำให้หน้ามืดวิงเวียนใจสั่น อ่อนเพลีย หัวใจหวิว ทำให้ชูกำลัง
ผล - ขับเหงื่อ ฝาดสมาน
ใบ - รักษาบาดแผลสด พอกบาดแผลสด แก้พิษงู
แก่น - แก้เลือดออกตามไรฟัน
ราก - ขับลมในลำไส้
เปลือก - ฟอกน้ำเหลือง กระจายหนอง
กระพี้ - แก้เสมหะในคอ

บัวหลวง



ชื่อวิทยาศาสตร์ : Nelumbo nucifera Gaertn.
ชื่อสามัญ : Lotus
วงศ์ :
Nelumbonaceae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
เป็นไม้ล้มลุก มีเหง้าและไหลอยู่ใต้ดิน เหง้า จะมีลักษณะเป็นท่อนยาว มีปล้องสีเหลืองอ่อนจนถึงเหลือง แข็งเล็กน้อย ถ้าตัดตามขวางจะเป็นรูกลมๆ หลายรู ไหลจะเป็นส่วนที่เจริญไปเป็นต้นใหม่ ใบ ใบเดี่ยวรูปโล่ ออกสลับ แผ่นใบจะชูเหนือน้ำ รูปใบเกือบกลม ขนาดใหญ่ ขอบเรียบและเป็นคลื่น ผิวใบมีนวล ก้านใบแข็งเป็นหนาม ถ้าตัดตามขวางจะเห็นเป็นรูภายใน ก้านใบมีน้ำยางขาว เมื่อหักจะมีสายใยสีขาว ใบอ่อนสีเทานวล ปลายม้วนงอขึ้นทั้งสองด้าน ก้านใบจะติดตรงกลางแผ่นใบ ดอก เดี่ยว มีสีขาว สีชมพู กลิ่นหอม บัวหลวงจะเริ่มบานตั้งแต่ตอนเช้า ก้านดอกยาวมีหนามเหมืนก้านใบ ชูดอกเหนือน้ำ และชูสูงกว่าใบเล็กน้อย กลีบเลี้ยง 4- 5 กลีบ ขนาดเล็ก สีขาวอมเขียว หรือสีเทาอมชมพู ร่วงง่าย กลีบดอกมีจำนวนมากเรียงซ้อนหลายชั้น เกสรตัวผู้มีจำนวนมากสีเหลือง ปลายอับเรณูมีระยางคล้ายกระบองเล็กๆ สีขาว เกสรตัวเมียจะฝังอยู่ในฐานรองดอกรูปกรวยสีเหลืองนวล ผล รูปกลมรีสีเขียวนวล มีจำนวนมาก ฝังอยู่ในส่วนที่เป็นรูปกรวย เมื่ออ่อนมีสีเหลือง รูปกรวยนี้เมื่อเป็นผลแก่จะขยายใหญ่ขึ้นมีสีเทาอมเขียว ที่เรียกว่า "ฝักบัว" มีผลสีเขียวอ่อนฝังอยู่เป็นจำนวนมากส่วนที่ใช้ : ดีบัว ดอก เกษรตัวผู้ เมล็ด ไส้ของเมล็ด ยางจากก้านใบและก้านดอก เง่า ราก
สรรพคุณ :
ดีบัว - มี Methylcorypalline ซึ่งเป็นตัวทำให้เส้นเลือดขยาย
ดอก, เกษรตัวผู้ - ขับปัสสาวะ ฝากสมาน ขับเสมหะ บำรุงหัวใจ เกษรปรุงเป็นยาหอม ชูกำลัง ทำให้ชื่นใจ ยาสงบประสาท ขับเสมหะ
เหง้าและเมล็ด - รสหวาน เย็น มันเล็กน้อย บำรุงกำลัง แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้เสมหะ แก้พุพอง
เมล็ดอ่อนและแก่ - เมล็ดใช้รับประทานเป็นอาหาร และใช้ทำเป็นแป้งได้ดี
เหง้าบัวหลวง - ใช้ปรุงเป็นอาหารได้ทั้งคาวหวาน
ไส้ของของเมล็ด - แก้เส้นโลหิตตีบในหัวใจ
ยางจากก้านใบและก้านดอก - แก้ท้องเดิน
ราก - แก้เสมหะ
สารเคมี :
ดอก
มีอัลคาลอยด์ ชื่อ nelumbine
embryo มี lotusine
เมล็ด มี alkaloids และ beta-sitosterol

เตยหอม



ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pandanus amaryllifolius Roxb.
ชื่อสามัญ : Pandanus Palm , Fragrant Pandan , Pandom wangi.
วงศ์ :
Pandanaceae
ชื่ออื่น : ปาแนะวองิง (มาเลเซีย-นราธิวาส)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวลักษณะแตกกอเป็นพุ่มขนาดเล็ก ลำต้นเป็นข้อ ใบออกเป็นพุ่มบริเวณปลายยอด เมื่อโตจะมีรากค้ำจุนช่วยพยุงลำต้นไว้ ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับเวียนเป็นเกลียวขึ้นไปจนถึงยอด ลักษณะใบยาวเรียวคล้ายใบหอก ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ผิวใบเป็นมัน เส้นกลางใบเว้าลึกเป็นแอ่ง ถ้าดูด้านท้องใบจะเห็นเป็นรูปคล้ายกระดูกงูเรือ ใบมีกลิ่นหอม ส่วนที่ใช้ : ต้นและราก, ใบสด
สรรพคุณ :
ต้นและราก - ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้กระษัย
ใบสด-
ตำพอกโรคผิวหนัง- รักษาโรคหืด- น้ำใบเตย ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น - ใช้ผสมอาหาร แต่งกลิ่น ให้สีเขียวแต่งสีขนม
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
ใช้เป็นยาขับปัสสาวะใช้ต้น 1 ต้น หรือราก ครึ่งกำมือ ต้มกับน้ำดื่ม
ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจใช้ใบสดไม่จำกัดผสมในอาหาร ทำให้อาหารมีรสเย็นหอม รับประทานแล้วทำให้หัวใจชุ่มชื่น หรือเอาใบสดมาคั้นน้ำรับประทาน ครั้งละ 2-4 ช้อนแกง
ใช้เป็นยาแก้เบาหวาน
ใช้ราก 1 กำมือ ต้มน้ำดื่ม เข้าเย็น
สารเคมี : สารกลุ่ม anthocyanin

การะเกด



ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pandanus tectorius Blume
ชื่อสามัญ : Screw Pine
วงศ์ :
PANDANACEAE
ชื่ออื่น :
การะเกดด่าง ลำเจียกหนู เตยดง เตยด่าง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่มกึ่งไม้ต้น สูง 3-7 ม. ลำต้นมักแตกกิ่งก้านสาขา มีรากอากาศค่อนข้างยาว และใหญ่ ใบเดี่ยวเรียงเวียนสลับกันเป็น 3 เกลียวที่ปลายกิ่ง รูปรางน้ำ กว้าง 0.7-2.5 ซม.ยาว 3-9 ซม. ค่อยๆ เรียวแหลมไปหาปลาย ขอบมีหนามแข็งยาว 0.2-1 ซม. แผ่นใบด้านล่างมีนวล ดอกแยกเพศ อยู่ต่างต้นกัน ออกตามปลายยอด มีจำนวนมาก ติดบนแกนของช่อ ไม่มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอก ช่อดอกเพศผู้ตั้งตรง ยาว 25-60 ซม. มีกาบสีนวลหุ้ม กลิ่นหอม เกสรเพศผู้ติดรวมอยู่บนก้านซึ่งยาว 0.8-2 ซม. ช่อดอกเพศเมียค่อนข้างกลม ประกอบด้วยเกสรเพศเมียเชื่อมติดกัน 3-5 อัน เป็นกลุ่ม 5-12 กลุ่ม แต่ละกลุ่มกว้าง 2-5 ซม. ยาว 3-7 ซม. ปลายหยักตื้นเป็นร่องระหว่างยอดเกสรเพศเมีย ยอดเกสรเพศเมียเรียงเป็นวง ผลเบียดกันแน่นเป็นก้อนกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 10-20 ซม. แต่ละผลกว้าง 2-6.5 ซม. ยาว 4-7.5 ซม. เมื่อสุกหอม โคนสีเหลือง ตรงกลางสีแสด ตรงปลายยอดสีน้ำตาลอมเหลือง ผลที่สุกแล้วมีโพรงอากาศจำนวนมาก
สรรพคุณ :
ดอก -
ปรุงยาหอม ทำให้ชุ่มชื่นหัวใจ ดอกหอม รับประทาน มีรสขมเล็กน้อย- แก้โรคในอก เช่น เจ็บคอ แก้เสมหะ บำรุงธาตุ- อบกลิ่นเสื้อผ้าให้หอม
วิธีใช้ - นำดอกไปเคี่ยวกับน้ำมันมะพร้าว หรือมันหมู ปรุงเป็นน้ำมันใส่ผม นำดอกเข้ายาหอมบำรุงหัวใจ

กระเจี๊ยบแดง





ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hibiscus sabdariffa L.
ชื่อสามัญ :
Jamaican Sorel, Roselle
วงศ์ : Malvaceae
ชื่ออื่น :
วยกระเจี๊ยบ กระเจี๊ยบเปรี้ย ผักเก็งเค็ง ส้มเก็งเค็ง ส้มตะเลงเครง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 50-180 ซม. มีหลายพันธุ์ ลำต้นสีม่วงแดง ใบเดี่ยว รูปฝ่ามือ 3 หรือ 5 แฉก กว้างและยาวใกล้เคียงกัน 8-15 ซม. ดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีชมพูหรือเหลืองบริเวณกลางดอกสีม่วงแดง เกสรตัวผู้เชื่อมกันเป็นหลอด ผลเป็นผลแห้ง แตกได้ มีกลีบเลี้ยงสีแดงฉ่ำน้ำหุ้มไว้
สรรพคุณ :
กลีบเลี้ยงของดอก หรือกลีบที่เหลืออยู่ที่ผล
เป็นยาลดไขมันในเส้นเลือด และช่วยลดน้ำหนักด้วย
ลดความดันโลหิตได้โดยไม่มีผลร้ายแต่อย่างใด
น้ำกระเจี๊ยบทำให้ความเหนียวข้นของเลือดลดลง
ช่วยรักษาโรคเส้นโลหิตแข็งเปราะได้ดี
น้ำกระเจี๊ยบยังมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ เป็นการช่วยลดความดันอีกทางหนึ่ง
ช่วยย่อยอาหาร เพราะไม่เพิ่มการหลั่งของกรดในกระเพาะ
เพิ่มการหลั่งน้ำดีจากตับ
เป็นเครื่องดื่มที่ช่วยให้ร่างกายสดชื่น เพราะมีกรดซีตริคอยู่ด้
ใบ แก้โรคพยาธิตัวจี๊ด ยากัดเสมหะ แก้ไอ ขับเมือกมันในลำคอ ให้ลงสู่ทวารหนัก
ดอก แก้โรคนิ่วในไต แก้โรคนิ่วในกระเพราะปัสสาวะ ขัดเบา ละลายไขมันในเส้นเลือด กัดเสมหะ ขับเมือกในลำไส้ให้ลงสู่ทวารหนัก
ผล ลดไขมันในเส้นเลือด แก้กระหายน้ำ รักษาแผลใน
มล็ด บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง แก้ดีพิการ ขับปัสสาวะ ลดไขมันในเส้นเลือด
นอกจากนี้ได้บ่งสรรพคุณโดยไม่ได้ระบุว่าใช้ส่วนใด ดังนี้คือ แก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ แก้ดีพิการ แก้ปัสสาวะพิการ แก้คอแห้งกระหายน้ำ แก้ความดันโลหิตสูง กัดเสมหะ แก้ไอ ขับเมือกมันในลำไส้ ลดไขมันในเลือด บำรุงโลหิต ลดอุณหภูมิในร่างกาย แก้โรคเบาหวาน แก้เส้นเลือดตีบตัน นอกจากใช้เดี่ยวๆ แล้ว ยังใช้ผสมในตำรับยาร่วมกับสมุนไพรอื่น ใช้ถ่ายพยาธิตัวจี๊ด
วิธีและปริมาณที่ใช้ : โดยนำเอากลีบเลี้ยง หรือกลีบรองดอกสีม่วงแดง ตากแห้งและบดเป็นผง ใช้ครั้งละ 1 ช้อนชา (หนัก 3 กรัม) ชงกับน้ำเดือด 1 ถ้วย (250 มิลลิลิตร) ดื่มเฉพาะน้ำสีแดงใส ดื่มวันละ 3 ครั้ง ติดต่อกันทุกวันจนกว่าอาการขัดเบาและอาการอื่นๆ จะหายไปสารเคมี ดอก พบ Protocatechuic acid, hibiscetin, hibicin, organic acid, malvin, gossypetinคุณค่าด้านอาหาร น้ำกระเจี๊ยบแดง มีรสเปรี้ยว นำมาต้มกับน้ำ เติมน้ำตาล ดื่มแก้ร้อนใน กระหายน้ำ และช่วยป้องกันการจับตัวของไขมันในเส้นเลือดได้ และยังนำมาทำขนมเยลลี่ แยม หรือใช้เป็นสารแต่งสี ใบอ่อนของกระเจี๊ยบเป็นผักได้ หรือใช้แกงส้ม รสเปรี้ยวกำลังดี กระเจี๊ยบเปรี้ยวมีชื่อเรียกอีกชื่อว่า "ส้มพอเหมาะ" ในใบมี วิตามินเอ ช่วยบำรุงสายตา ส่วนกลีบเลี้ยงและกลีบดอก มีสารแคลเซียม ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง น้ำกระเจี๊ยบแดงที่ได้สีแดงเข้ม สาร Anthocyanin นำไปแต่งสีอาหารตามต้องการ

คำฝอย



ชื่อวิทยาศาสตร์ : Carthamus tinctorius L.
ชื่อสามัญ : Safflower, False Saffron, Saffron Thistle
วงศ์ : Compositae
ชื่ออื่น : คำ คำฝอย ดอกคำ (เหนือ) คำยอง (ลำปาง)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก สูง 40-130 ซม. ลำต้นเป็นสัน แตกกิ่งก้านมาก ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปวงรี รูปใบหอกหรือรูปขอบขนาน กว้าง 1-5 ซม. ยาว 3-12 ซม. ขอบใบหยักฟันเลื่อย ปลายเป็นหนามแหลม ดกช่อ ออกที่ปลายยอด มีดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก เมื่อบานใหม่ๆ กลีบดอกสีเหลืองแล้วจึงเปลี่ยนเป็นสีแดง ใบประดับแข็งเป็นหนามรองรับช่อดอก ผลเป็นผลแห้ง ไม่แตก เมล็ดเป็นรูปสามเหลี่ยม สีขาว ขนาดเล็ก
สรรพคุณ :
ดอก หรือกลีบที่เหลืออยู่ที่ผล- รสหวาน บำรุงโลหิตระดู แก้น้ำเหลืองเสีย แก้แสบร้อนตามผิวหนัง- บำรุงโลหิต บำรุงหัวใจ บำรุงประสาท ขับระดู แก้ดีพิการ- โรคผิวหนัง ฟอกโลหิต- ลดไขมันในเส้นเลือด ป้องกันไขมันอุดตัน
เกสร - บำรุงโลหิต ประจำเดือนของสตรี
เมล็ด- เป็นยาขับเสมหะ แก้โรคผิวหนัง ทาแก้บวม- ขับโลหิตประจำเดือน- ตำพอกหัวเหน่า แก้ปวดมดลูกหลังจากการคลอดบุตร
น้ำมันจากเมล็ด- ทาแก้อัมพาต และขัดตามข้อต่างๆ
ดอกแก่- ใช้แต่งสีอาหารที่ต้องการให้เป็นสีเหลือง
วิธีและปริมาณที่ใช้ : ชาดอกคำฝอย ช่วยเสริมสุขภาพ ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด โดยใช้ดอกแห้ง 2 หยิบมือ (2.5 กรัม) ชงน้ำร้อนครึ่งแก้ว ดื่มเป็นเครื่องดื่มได้สารเคมี ดอก พบ Carthamin, sapogenin, Carthamone, safflomin A, sfflor yellow, safrole yellow เมล็ด จะมีน้ำมัน ซึ่งประกอบด้วยกรดไขมันที่ไม่อิ่มตัวคุณค่าด้านอาหาร ในเมล็ดคำฝอย มีน้ำมันมาก สารในดอกคำฝอย พบว่าแก้อาการอักเสบ มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อบางตัวได้ ในประเทศจีน ดอกคำฝอย เป็นยาเกี่ยวกับสตรี ตำรับยาที่ใช้รักษาสตรีที่ประจำเดือนคั่งค้างไม่เป็นปกติ หรืออาการปวดบวม ฟกช้ำดำเขียว มักจะใช้ดอกคำฝอยด้วยเสมอ โดยต้มน้ำแช่เหล้า หรือใช้วิธีตำพอก แต่มีข้อควรระวังคือ หญิงมีครรภ์ ห้ามรับประทาน ใช้ดอกคำฝอยแก่ มาชงน้ำร้อน กรอง จะได้น้ำสีเหลืองส้ม (สาร safflower yellow) ใช้แต่งสีอาหารที่ต้องการให้เป็นสีเหลือง

เสาวรส



ชื่อวิทยาศาสตร์ : Passiflora laurifolia L.
ชื่อสามัญ :
Jamaica honey-suckle, Passion fruit, Yellow granadilla
วงศ์ : Passifloraceae
ชื่ออื่น
: สุคนธรส (ภาคกลาง)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้เถา เถามีลักษณะกลม ใบ เป็นใบเดี่ยว ขอบใบหยักลึก ที่ก้านใบมีต่อมใบ ดกหนา เป็นมันสีเขียวแก่ ดอก ออกดอกเดี่ยวขนาดใหญ่ ห้อยคว่ำคล้ายกับดวงไฟโคม กาบดอกหุ้มสีเขียว กลีบชั้นนอกเป็นรูปกระบอก ปลายแฉกด้านหลังมีสีเขียวแก่ ด้านในมีสีม่วงอ่อนประกอบด้วยจุดแดง ๆ กลีบชั้นในลักษณะคล้ายกับตัวแฉกของกลีบชั้นนอก สีม่วงอ่อนหรือชมพูอ่อนมีประสีแดงแซม กลีบย่อยกลางมีเป็นชั้น ๆ สองชั้นแต่ละกลีบค่อนข้างกลม สีม่วงแก่ พาดด้วยปลายสีขาวสลับแดง มีเกสรอยู่ตรงกลางสีเขียวนวล ดอกมีกลิ่นหอมแรงจัดมาก ผล เป็นรูปไข่หรือไข่ยาว มีหลายพันธุ์ บางพันธุ์ ผิวผลสีม่วง สีเหลือง สีส้มอมน้ำตาล เปลือกผล เรียบ เนื้อรับประทานได้ มีเมล็ดจำนวนมาก อยู่ตรงกลาง

สรรพคุณ : ลดไขมันในเส้นเลือด
วิธีและปริมาณที่ใช้ : ใช้ผลที่แก่จัด ไม่จำกัดจำนวน ล้างสะอาด ผ่าครึ่ง คั้นเอาแต่น้ำ เติมเกลือและน้ำตาลเล็กน้อย ให้รสกลมกล่อมตามชอบ ใช้ดื่มเป็นน้ำผลไม้ ลดไขมันในเส้นเลือด

ปีบ



ชื่อวิทยาศาสตร์ : Millingtonia hortensis L.f.
ชื่อสามัญ : Cork Tree , Indian Cork
วงศ์ :
BIGNONIACEAE
ชื่ออื่น :
กาซะลอง กาดสะลอง (ภาคเหนือ) เต็กตองโพ่ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูงประมาณ 5-10 เมตร ลำต้นตรง เปลือกมีสีเทาเข้มแตกเป็นร่องลึก มีช่องอากาศ รากเกิดเป็นหน่อ เจริญเป็นต้นใหม่ได้ ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก 3 ชั้น กว้าง 13-20 ซม. ยาว 16-26 ซม. ก้านใบยาว 3.5-6 ซม. ตัวใบประกอบด้วยแกนกกกลางยาว 13-19 ซม. มีใบย่อย 4-6 คู่ ใบย่อย 4-6 คู่ กว้าง 2.5-3 ซม. ยาว 4-5 ซม. มีรูปร่างเป็นรูปหอกแกมรูปไข่ ฐานใบรูปลิ่ม ขอบหยักเป็นซี่หยาบ ปลายเรียวแหลม เนื้อใบบางคล้ายกระดาษ เกลี้ยง ดอกเป็นดอกช่อกระขุกแยกแขนง ยาว 10-25 ซม. ดอกย่อยประกอบด้วย กลีบเลี้ยง มีสีเขียว กว้างประมาณ 0.5 ซม. ยาวประมาณ 0.5 ซม. เชื่อมกันเป็นรูประฆังปลายตัด กลีบดอกมีสีขาว กลิ่นหอม กว้างประมาณ 0.5 ซม. ยาว 6-10 ซม. เชื่อมกันเป็นหลอดปากแตร แยกเป็น 5 แฉก 3 แฉกรูปขอบขนาน 2 แฉกล่างค่อนข้างแหลม เกสรเพศผู้มีจำนวน 4 อัน สองคู่ยาวไม่เท่ากัน เกสรเพศเมียมีจำนวน 1 อัน อยู่เหนือวงเกลีบ ออกดอกประมาณเดือนพฤศจิกายน - พฤษภาคม ผล เป็นผลแห้งแตก ลักษณะแบนยาวขอบขนาน มีเนื้อ เมล็ดมีจำนวนมา เป็นแผ่นบางมีปีกส่วนที่ใช้ : ราก ดอก ใบ
สรรพคุณ : เป็นพืชที่นำมาใช้ในการรักษาโรคได้หลายชนิด ในตำรายาไทย เช่น
ราก - บำรุงปอด รักษาวัณโรค อาการหอบหืด
ดอก - ใช้รักษาอาการหอบหืด ไซนัสอักเสบ เพิ่มการหลั่งน้ำดี (cholagogue) เพิ่มรสชาติ นำดอกปีบแห้ง ผสมยาสูบมามวนเป็นบุหรี่ สำหรับสูบสูด เพื่อรักษาอาการหอบหืด
ใบ - ใช้มวนบุหรี่สูบแทนฝิ่น ขยายหลอดลม ใช้รักษาอาการหอบหืดได้เช่นกัน
วิธีและปริมาณที่ใช้ แก้หอบหืด ใช้ดอกแห้ง 6-7 ดอก มวนเป็นบุหรี่สูบ นักวิทยาศาสตร์ ได้ทำการสกัดส่วนต่าง ๆ ของปีบ เพื่อหาส่วนประกอบต่าง ๆ ที่มีฤทธิ์ในการรักษา ตรวจพบสาร Scutellarein และ Scutellarein-5-galactoside จากดอกปีบ ต่อมาตรวจพบว่าในใบ มีสาร hispidulin ในผล พบ acetyl oleanolic acid ในดอก มีสาร Scutellarein, hispidulin และ Scutellarein-5-galactoside ในราก พบสาร hentriacontane, lapachol, hentria contanol-1, B-stosterol และ paulownin ในส่วนของแก่นไม้และเปลือกของต้น พบสาร B-stosterol นำมาสก้ดออกจากดอกปีบแห้งโดยนำสารสกัดด้วย methanol มาแยกลำดับส่วนด้วย ปีโตรเลียมอีเธอร์ คลอโรฟอร์ม บิวธานอล และน้ำ นำส่วนต่าง ๆ เหล่านี้มาทดสอบฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา พบว่าส่วนสกัดจากคลอโรฟอร์ม จะมีฤทธิ์ขยายหลอดลมในขณะที่ส่วนสกัด Butanol และน้ำ จะมีฤทธิ์ทำให้หลอดลมหดตัว และพบว่าส่วนสกัดแยกส่วนด้วย Butanol จากสารสกัดด้วยน้ำ มีฤทธิ์ขยายหลอดลม จากการศึกษานี้ จึงเชื้อว่า hispidulin มีบทบาทสำคัญในการขยายหลอดลม ซึ่งขณะนี้กำลังมีผู้วิจัยศึกษาถึงฤทธิ์ ขยายหลอดลมในร่างกายของสัตว์ทดลอง สำหรับการศึกษาในด้านความปลอดภัย ของการใช้ดอกปีบในการรักษา ได้ศึกษาพิษเฉียบพลัน (acute) และกึ่งเฉียบพลัน (Subacute toxicity) อย่างไรก็ตาม การที่จะอธิบายได้ว่าผลที่เกิดขึ้นนี้ จากสารสกัดตัวใดนั้น ยังให้คำตอบไม่ได้ ต้องศึกษาสาระสำคัญแยกกันไป แม้ว่า hispidulin จะเป็นสาระสำคัญตัวหนึ่งที่แยกได้จากส่วนของคลอโรฟอร์ม พบว่าสาร hispidulin ที่มีปรากฏอยู่ในส่วนสกัดจากคลอโรฟอร์มนั้น จะปรากฏอยู่ประมาณ 0.364% W/W ดังนั้นจึงควรทำการศึกษาพิษของ hispidulin ที่แยกให้บริสุทธิ์ แล้วจึงจะให้คำตอบที่ชัดเจนและถูกต้อง การศึกษาฤทธิ์อื่น ๆ ของสาร hispidulin และสารอื่น ๆ ที่แยกได้จากปีบ ควรที่ได้ศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมตลอดจนกลไกที่เกี่ยวข้องกับการออกฤทธิ์นั้นเพื่อประเมินศักยภาพของปีบ ในการนำมาใช้ในการรักษาหอบหืดในอนาคต

มะแว้งเครือ



ชื่อวิทยาศาสตร์ : Solanum trilobatum L.
วงศ์ :
Solanaceae
ชื่ออื่น :
มะแว้งเถา (กรุงเทพฯ ) แขว้งเควีย (ตาก)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้เถาเลื้อยพาดพันกับต้นไม้อื่น ลำต้นกลม สีเขียวเป็นมัน มีหนามแหลมตามกิ่งก้าน ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ สีเขียวเป็นมัน แผ่นใบล่างมีหนามตามเส้นใบ ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบที่ปลายกิ่ง ดอกสีม่วง กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ กลีบดอกมี 5 แฉก ย่น ปลายแหลม โคนเชื่อมติดกัน เกสรเพศผู้สีเหลืองมี 5 อัน ผล รูปทรงกลม ขนาด 0.5 ซม. ผิวเรียบ ผลดิบสีเขียวมีลายขาว ผลสุกสีแดงใส เมล็ดแบน มีจำนวนมากส่วนที่ใช้ : ราก ทั้งต้น ต้น ใบ ผลสดแก่โตเต็มที่ แต่ยังไม่สุก
สรรพคุณ :
ราก -
แก้โลหิตออกทางทวารหนัก ทวารเบา แก้ไอ แก้ขับเสมหะให้ตก แก้หืด ขับปัสสาวะ แก้ไข้สันนิบาต บำรุงธาตุ แก้น้ำลายเหนียว กระหายน้ำ แก้วัณโรค
ทั้งต้น - ขับเหงื่อ แก้ไอ แก้หืด ขับปัสสาวะ
ต้น - แก้หญิงท้องขึ้นในขณะมีครรภ์ แก้ไอ ขับเสมหะ แก้น้ำลายเหนียว กระทุ้งพิษไข้ ขับปัสสาวะ
ใบ - บำรุงธาตุ แก้ไอ แก้น้ำลายเหนียว
ผลสด - แก้ไอ ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ รักษาโรคเบาหวาน บำรุงดี แก้น้ำลายเหนียว บำรุงเลือด แก้โลหิตออกทางทวารหนักทวารเบา
วิธีและปริมาณที่ใช้ แก้ไอ แก้โรคหืดหอบ ใช้เป็นยาขมเจริญอาหาร
เอาผลมะแว้งเครือสดๆ 5-6 ผล นำมาเคี้ยวกลืน เฉพาะน้ำจนหมดรสขม แล้วคายกากทิ้งเสีย บำบัดอาการไอได้ผลชงัด
ใช้ผลสดๆ 5-10 ผล โขลกพอแหลก คั้นเอาน้ำ ใส่เกลือ จิบบ่อยๆ หรือใช้ผลสดเคี้ยวแล้วกลืนทั้งน้ำและเนื้อ
รักษาเบาหวาน ลดน้ำตาลในเลือด ใช้ผลมะแว้ง โตเต็มที่ 10-20 ผล รับประทานเป็นอาหาร เป็นผักจิ้มน้ำพริก

สารเคมี : ใบ มี Tomatid - 5 - en -3- ß - ol ดอก มี Alkaloids, Cellulose, Pectins Unidentified organic acid Lignins, Unidentified saponins ผล มี Enzyme oxidase, Vitamin A ค่อนข้างสูง