การใช้สมุนไพรในการรักษาโรค


พืชสมุนไพร เป็นสิ่งที่อยู่คู่คนไทยมานับพันปี แต่เมื่อการแพทย์แผนปัจจุบันเริ่มเข้ามามีบทบาทในบ้านเรา สรรพคุณและคุณค่าของสมุนไพรอันเป็นสิ่งที่เรียกได้ว่าภูมิปัญญาโบราณก็เริ่มถูกบดบังไปเรื่อยๆ และถูกทอดทิ้งไปในที่สุด ความจริงคนส่วนใหญ่ก็พอรู้ๆ กันว่า สมุนไพรไทยเป็นสิ่งที่มีคุณค่าใช้ประโยชน์ได้จริง และใช้ได้อย่างกว้างขวาง แต่เป็นเพราะว่าเราใช้วิธีรักษาโรคแผนใหม่มานานมากจนวิชาแพทย์แผนโบราณที่มีสมุนไพรเป็นยาหลักถูกลืมจนต่อไม่ติด
ภาครัฐเริ่มกลับมาเห็นคุณค่าของสมุนไพรไทยอีกครั้งด้วยการแถลงนโยบายต่อรัฐสภาไว้เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2535 ว่า " ให้มีการผสมผสานการแพทย์แผนไทยและสมุนไพรเข้ากับระบบบริการสาธารณสุขของชุมชนอย่างเหมาะสม"

วันจันทร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2552

สิ่งที่น่าสนใจ "ทัชมาฮาล อนุสาวรีย์แห่งความรัก"


''ทัชมาฮัล" ถ้าถามว่า “ความรักคืออะไร“…. อย่าคิดหาคำตอบให้เสียเวลา…เพราะว่าเราจะไม่ได้ความหมายที่แท้จริงเลย คำๆ นี่ไม่มีแม้กระทั่งคำจำกัดความของตัวมันเอง เรารู้แต่เพียงว่า “ความรัก” นั้น สามารถบันดาลให้เกิดขึ้นได้ทุกสิ่งทัชมาฮัล คือตัวอย่างของตำนานแห่ง “ ความรัก” ที่ปราศจากนิยามคำนี้ ผู้ที่สร้างตำนานความรักอันยิ่งใหญ่คือ กษัตริย์ชาห์ญะฮาน กษัตริย์องค์ที่ 5 ในราชวงศ์โมเลกุล ที่ทรงโปรดให้สร้าง ตาซมะฮัล หรือ ทัชมาฮัลขึ้นเป็นอนุสรณ์แทนความรักที่พระองค์มีต่อมเหสีคือ พระนางมุมตาซ มะฮัล จนสถานที่แห่งนี้กลายเป็นอนุสรณ์สถานแห่งความรักที่งดงามที่สุดในโลก
ตำแหน่งที่ตั้ง
ฝั่งขวาแม่น้ำยมนา ประเทศอินเดีย

ปัจจุบัน
สามารถเข้าเยี่ยมชมได้
รายละเอียด
เป็นอนุสาวรีย์แห่งความรัก สร้างขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1631 เสร็จ ค.ศ. 1648 รวมเวลาก่อสร้าง 17 ปี ใช้เวลาตกแต่ง 5 ปี รวมเวลาทั้งหมด 22 ปี ใช้งบประมาณก่อสร้าง 30 ล้านรูปี คนงานก่อสร้าง 20,000 คน ทัชมาฮาลสร้างขึ้นโดยกษัตริย์ชาร์เจฮาน แห่งราชวงศ์โมกุล สร้างขึ้นเพื่อบรรจุศพของพระนางมุมทัส มาฮาล ซึ่งเป็นพระมเหสีสุดที่รักของพระองค์ โดยสร้างขึ้นบริเวณฝั่งขวาแม่น้ำยมนา ตอนโค้งที่สวยงามในเนื้อที่ 625 ไร่ ทัชมาฮาลทำด้วยหินอ่อนสีขาว ภายในสุสานใต้โดมใหญ่เป็นที่ประดิษฐานหีบศพของพระนางมุมทัส และกษัตริย์ชาร์เจฮาน


http://th.upload.sanook.com/A0/2948daabfb49b5e79798b2e30e6b1cc5

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น